
WORLD : ชาวโรฮิงญาจัดกิจกรรม รำลึก 25 สิงหาคม ครบรอบ 5 ปี วันแห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงญา กว่า 700,000 คนต้องอพยพจากบ้านเกิดเมียนมา มาอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยค๊อกบาร์ซาร์ บังคลาเทศ ที่รวมแล้วมีผู้ลี้ภัยนับล้านคน
“วันที่เราลืมไม่ได้ และจะไม่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อีกเลย–”
“ไม่มีชีวิตผู้ลี้ภัยอีกต่อไป”
“เราต้องการส่งกลับประเทศเมียนมาโดยเร็ว ด้วยสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน”
#สตรีชาวโรฮิงญา ส่งข้อความถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับความคืบหน้า การเจรจาเรื่องการส่งตัวกลับประเทศกำลังอยู่ในระหว่างประสานงานเมียนมา-บังคลาเทศ และหน่วยงานต่างๆ ของสหประชาชาติ ซึ่งคณะทำงานร่วมจัดทำรายชื่อชาวโรฮิงญาที่จะถูกส่งตัวกลับประเทศ
“เราได้ให้รายชื่อชาวโรฮิงญาจำนวน 830,000 คนแล้ว พวกเขายอมรับแล้ว” ชัมซุด ดูซา กรรมาธิการเพิ่มเติมของสำนักงานกรรมาธิการบรรเทาทุกข์และการส่งกลับผู้ลี้ภัยกล่าวกับสำนักข่าว DW
เมื่อวันอาทิตย์ รัฐมนตรีต่างประเทศบังคลาเทศ มาซุด บิน โมเมน บอกกับสื่อมวลชนว่าการส่งตัวกลับประเทศจะเริ่มได้ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2565
“เราหวังว่าเราจะสามารถเริ่มต้นการส่งตัวกลับประเทศได้ภายในสิ้นปีนี้ เรากำลังพยายามทำเพื่อผลประโยชน์ของเราเอง เพราะโรฮิงญากลายเป็นภาระสำหรับบังคลาเทศเรา” เขากล่าว
รัฐมนตรีต่างประเทศบังคลาเทศ กล่าวต่อว่า เมียนมา มีรายชื่ออยู่ พวกเขารู้ดีว่าใครอพยพมา หากเมียนมา ต้องการเริ่มกระบวนการส่งตัวกลับประเทศจริงๆ พวกเขาจะส่งรายชื่อมาบังคลาเทศ เราก็แค่ค้นหาและส่งพวกเขากลับบ้าน”
#จะมีความยุติธรรมหรือไม่?
5 ปีแล้ว ยังไม่มีใครรับผิดชอบต่อความโหดร้ายที่เกิดขึ้นในเมียนมา แกมเบียได้เปิดตัวคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกี่ยวกับประเด็นนี้ต่อหน้าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ ) คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา รัฐบาลเมียนมาร์ได้ยื่นอุทธรณ์ แต่หลังจากนั้นก็ถูกปฏิเสธ
องค์กรด้านสิทธิเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยุติความเฉยเมย
Hasina Begum ชาวโรฮิงญากล่าวว่า เธอไม่รู้ว่าความยุติธรรมจะเป็นอย่างไร สำหรับเธอแล้ว การกลับไปใช้ชีวิตตามปกตินั้นช่างห่างไกล บาดแผลทางร่างกายและจิตใจจะมีมากกว่ารอยแผลเป็นที่มองเห็นได้บนร่างกายของเธอ
“ฉันไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป” เธอกล่าว ฉันไม่เห็นอนาคตที่นี่หรือที่ไหนเลย”
ที่มา DW
ภาพ: ewdrw/AbulKalam
#ขุนคมคำ
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook