สงครามและความหวัง ณ แผ่นดิน อัล อักซอ

ADMIN

สงครามและความหวัง ณ แผ่นดิน อัล อักซอ

แผ่นดินอันเป็นที่ตั้งของมัสยิดอัล อักซอ นี้ จะเป็นพื้นที่แห่งสงครามและความหวังไปจนกระทั่งยิวคนสุดท้ายจะถูกสังหาร ภายใต้การชี้ชวนของก้อนหินและต้นไม้ต่าง ๆ ยกเว้นต้น”ฆ็อรก็อด” ซึ่งไม่ยอมบอกที่ซ่อนของยิว

เมื่อยิวถูกสังหารจนสิ้นแล้ว โลกจึงจะได้พบกับสันติภาพอันแท้จริง ภายใต้การนำของอิหม่ามมะฮดี 7 ปี และนบีอีซา อลัยฮิสสลาม อีก 40 ปี เมื่อท่านนบีอีซาสิ้นลม ก็หมายถึงความดีทั้งหลายก็จบสิ้น เหลือไว้แต่คนชั่วที่จะได้สัมผัสความน่ากลัวของวันสิ้นโลกด้วยตัวเอง

ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ จึงอย่าได้แปลกใจที่จะได้เห็นสงครามระหว่างมุสลิมปาเลสไตน์กับยิวผู้รุกรานเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า

และอย่าได้แปลกใจที่ฝ่ายมุสลิมจะเสียเปรียบในด้านกำลังคนและกำลังอาวุธ เพราะในศตวรรษแห่งซาตานและยุคแห่งฟิตนะฮ “ดุฮัยมาอ” จะเป็นช่วงเวลาที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเปิดโอกาสให้เหล่าคนชั่วดาหน้าขึ้นครองอำนาจบาตรใหญ่ มีความสุขกับการกอบโกยทรัพยากร เป็นปฏิปักษ์กับอิสลามและคุกคามคนดี ๆ จนแทบไม่มีที่ยืน

ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้บอกไว้ว่า…..

لا تقوم الساعة حتى تكون أسعد الناس بالدنيا لكع بن لكع
رواه الترمذي ٢٢٠٩.وأحمد ٢٣٣٠٣

“วันสิ้นโลกจะยังไม่เกิด จนกว่าคนที่มีความสุขที่สุดบนโลก จะได้แก่คนเลวบุตรของคนเลว”

ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ เป็นธรรมดาที่คนผู้ซึ่งคิดจะต่อสู้เพื่ออิสลามจะมีน้อย เพราะคนส่วนใหญ่จะทำตัวเป็นดั่งขยะลอยน้ำ คนมีความรู้ก็พากันขายศาสนา เพื่อซื้อหาลาภยศและความมีหน้ามีตาทางสังคม

ในที่สุดสถานการณ์ก็จะบีบคั้นให้สังคมมุสลิมทั่วโลกเหลือคนเพียงสองกลุ่ม คือ กลุ่มผู้สืบศรัทธาบริสุทธิ์ กับกลุ่มมนุษย์มุนาฟิกที่ไร้ศรัทธาโดยสิ้นเชิง ตามหะดีษของอับดุลลอฮ บิน อุมัร

حتى يصير الناس إلى فسطاطين فسطاط إيمان لا نفاق فيه وفسطاط نفاق لا إيمان فيه فإذا كان ذاكم فانتظروا الدجال من يومه أو غده
صحيح الجامع. ٤١٩٤

กระทั่งผู้คนแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเปี่ยมศรัทธาแบบไร้ความนิฟากเจือปน กับอีกกลุ่มที่กลับกลอกจนไร้ศรัทธาอย่างสิ้นเชิง เมื่อถึงเวลานั้นแล้ว พวกท่านก็จงรอการปรากฎตัวของดัจญาล อาจเป็นวันนั้นหรือวันพรุ่ง

ช่วงเวลาที่เราดำรงอยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นช่วงของการสงครามและความหวัง เป็นห้วงของการกลั่นกรองว่าใครจะไปอยู่กับกลุ่มใด

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น เราควรตระหนักว่าจุดศูนย์กลางของสงครามและความหวังนี้ จะอยู่ที่แผ่นดินมัสยิด อัล อักซอ เป็นหลัก

ที่นี่… จะเป็นดินแดนซึ่งยิวจะแสดงความเหิมเกริมและสร้างความเสียหายแก่แผ่นดินอย่างใหญ่หลวง

ที่นี่… จะเป็นดินแดนที่พิสูจน์ศรัทธาของเหล่ามุญาฮิดีนซึ่งจะปักหลักต่อสู้กับยิว ท่ามกลางข้อจำกัดมากมายจนได้รับชัยชนะ

ที่นี่…. จะเป็นบทพิสูจน์ความเป็นมุนาฟิกของเหล่าผู้นำอาหรับ ซึ่งแสดงตนเสมือนหนึ่งเป็นมุสลิม แต่แท้จริงพวกเขาก็แค่เสาค้ำยันการดำรงอยู่ของไซออนิสต์เท่านั้นเอง

สงครามระหว่างมุญาฮิดีนกับไซออนิสต์ในเดือนรอมาฎอน 1442 มีสิ่งบ่งชี้ว่ากาลอวสานของยิวกระชับใกล้เข้ามามากขึ้นนั่นคือ :….

เมืองสำคัญต่าง ๆ ของพวกเขารวมทั้งเทลอาวีฟที่เป็นเมืองหลวง ต่างตกอยู่ในการโจมตีอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

สนามบินสำคัญ ๆ ถูกโจมตีจนต้องประกาศงดเที่ยวบินทั้งหมด ซึ่งสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่ยิวอย่างมหาศาล

จากเดิมที่พวกเขาคือผู้กำหนดการปิดล้อมกาซา วันนี้พวกเขากลับถูกปิดล้อมเสียเอง

ความตื่นตัวของประชาชนทั้งในจอร์แดน อียิปต์และเลบานอน ซึ่งพยายามฝ่าด่านพรมแดนเข้าไปในปาเลสไตน์เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับยิวผู้รุกราน เป็นปรากฏการณ์อันน่าจับตายิ่ง

ประชาชนเหล่านี้คือเชื้อเพลิงสำคัญของการจุดกระแสอาหรับสปริงให้คุโชนอีกครั้ง อันจะนำมาซึ่งจุดจบของเหล่าผู้นำมุนาฟิกในอีกไม่ช้า อิน ชา อัลลอฮ

และเมื่อนั้น ความหวังของการสถาปนาอาณาจักรอิสลาม ณ บัยตุลมักดิส ก็จะเรืองรองผ่องอำไพ เพราะคนดีจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

อ.วิสุทธิ์ บินลาเต๊ะ