สิทธิและเสรีภาพมุสลิมกัมพูชาในปัจจุบัน ซึ่งในอดีตเคยถูกสังหารถึง 500,000 คน

ADMIN

มุสลิมในกัมพูชาและสิทธิที่ได้รับ

#มุสลิมในยุคเขมรแดง

ในวิถีชีวิตของคนกัมพูชาทั่วไปแล้ว กล่าวได้ว่าการปกครองประเทศในยุคเขมรแดงเรืองอำนาจ (the Khmer Rouge / พ.ศ.2518-2522) มันคือรอยด่างทางประวัติศาสตร์ของชาวกัมพูชาอย่างยากที่จะลืมเลือน มัสยิดกว่า 132 หลังถูกทำลาย มุสลิมถูกห้ามปฏิบัติศาสนกิจ ที่น่าเศร้าใจ บรรดาปวงปราชญ์ ผู้รู้ทางศาสนาชาวจามที่สำคัญกว่า 113 ท่าน สามารถหลบหนีและเอาตัวรอดจากยุคไล่ล่ามาได้เพียง 20 ท่าน

ชาวกัมพูชามุสลิมต้องประสบเคราะห์กรรมในช่วงที่พลพตมีอำนาจ (1975-1979) มีการประมาณจำนวนตัวเลขการสูญหายของชาวกัมพูชามุสลิม โดย Ben Kiernan ผู้เชี่ยวชาญด้านกัมพูชาคนหนึ่งว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวชาวมุสลิมสูญหายไปประมาณ 90,000 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 250,000 คนก่อนปี 1975 กล่าวคือ ร้อยละ 36 (แต่ Ysa Osman ชาวกัมพูชามุสลิมจามซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Oukouban ซึ่งแปลว่า ความเป็นธรรม ซึ่งเป็นความเป็นธรรมที่เรียกร้องให้แก่ชาวมุสลิมซึ่งรวมจามด้วยยืนยันว่า ชาวมุสลิมถูกสังหารไป 500,000 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 700,000 คน)

ในขณะที่ชาวกัมพูชาที่ไม่ใช่มุสลิมถูกสังหารไป ร้อยละ 25 (ร้อยละ 15 เป็นผู้อยู่ในชนบท) ซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าชาวมุสลิมที่ถูกสังหาร ในขณะที่จำนวนอิหม่ามประจำหมู่บ้านซึ่งมีประมาณ 113 คนในช่วงก่อน 1975 มีชีวิตรอดเพียง 21 คน

หลังจากที่เขมรแดงหมดอำนาจลง ในช่วงนั้นมัสยิดยังถูกทำลายไปร้อยละ 85 ของจำนวนที่เคยมีอยู่
อย่างไรก็ตาม ชาวกัมพูชามุสลิมมิใช่เป็นกลุ่มเดียวที่ต้องประสบเคราะห์กรรมเช่นนี้
กลุ่มคนจีน คนเวียดนามในกัมพูชาก็ต้องเผชิญกับการสังหารกวาดล้างโดยกลุ่มเขมรแดงด้วย เช่นกัน ดังเช่นจำนวนของคนจีนที่มี 450,000 คน ในช่วงก่อนปี 1975 กลับเหลือเพียงครึ่งหนึ่งในปี 1979

#สิทธิและเสรีภาพมุสลิมกัมพูชาในปัจจุบัน

ณ วันนี้ อิสลามได้รับการปลดปล่อยให้มีอิสระเหมือนกับศาสนาอื่นๆในประเทศกัมพูชา สามารถที่จะแต่งตัวตัววิถีชีวิตแบบอิสลาม ปฏิบัติตามธรรมเนียมมุสลิม ปฏิบัติศาสนกิจตามใจชอบ อาซานและละหมายอย่างเปิดเผย สร้างมัสยิด การเรียนการสอนศาสนา สอนอ่านอัลกุรอาน และอื่นๆโดยรัฐบาลจะไม่ขัดขวาง และเป็นข่าวดี จากคำเสวนา ของ อ.สุกรี หลังปูเต๊ะ ตอนหนึ่งได้กล่าวว่า ประเทศกัมพูชาได้รับสิทธิและเสรีภาพ โดยมีคำลงนาม และผลึกด้วยตราสีแดงของนายกรัฐมนตรี ว่า “ ข้าราชกาล นักศึกษาในมหาวิทยาลัย นักเรียนในโรงเรียน ในหน่วยงานทุกแห่งของประเทศกัมพูชา สามารถที่จะแต่งตัวตามประเพณีนิยมหรือตามหลักศาสนาอิสลาม หากว่า รัฐมนตรีท่านใด กระทรวง กรม ทบวง ฝ่าฝืนคำสั่ง ให้รายงานโดยส่วนนายกรัฐมนตรี ” เป็นการชี้ให้เห็นถึงเสรีภาพในการที่จะแต่งตัวตามแบบศาสนาอิสลาม สามารถที่จะแต่งตัวได้โดยไม่มีบุคคลที่สามารถจะขัดขวางได้

และความสัมพันธ์ของมุสลิมในประเทศกัมพูชาต่อโลกอิสลามสามารถที่จะติดต่อสือสารอย่างอิสระ ชาวกัมพูชามุสลิมมีความสัมพันธ์กับกลุ่มภายนอกพอสมควร ได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ทั้งจากประเทศในตะวันออกกลาง มาเลเซีย อินโดนีเซีย ในเรื่องการสร้างมัสยิดแห่งใหม่ๆ เพื่อทดแทนมัสยิดที่ถูกทำลายไปในสมัยเขมรแดง การบริจาคและจัดหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน (al-Quran) ให้การสนับสนุนในการไปแสวงบุญที่นครเมกกะ (Mecca) การให้ทุนการศึกษา เป็นต้น

ที่ผ่านมา ดูไบได้ให้ความช่วยเหลือในการสร้างมัสยิดไม่น้อยกว่า 20 แห่ง และในปัจจุบันมัสยิดในกัมพูชามีจำนวนประมาณ 400 แห่ง (บางข้อมูลบอกว่ามี 280 แห่ง) รวมทั้งมัสยิดบนเส้นทางจากกรุงพนมเปญไปยังเมืองอุดง (Oudong) และมัสยิดริมทะเลสาบใหญ่ (Tonle Sap) บนเส้นทางสู่กำปงชนัง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวอีกครั้งของอิสลามในกัมพูชา สมาคมมุสลิมต่างๆ ระดับประเทศ มีดังเช่น Cambodian Islamic Development Association (CIDA) Cambodian Muslim Development Foundation (CMDF) ก็ยังได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากประเทศในตะวันออกกลางและมาเลเซีย ทำให้ CIDA สามารถให้ทุนแก่ชาวมุสลิมเรียนหนังสือที่ Norton University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงพนมเปญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ชาวมุสลิมจามจำนวน 300 คน คนละ 500 เหรียญสหรัฐต่อปี สำหรับองค์กรระดับระหว่างประเทศ มีดังเช่น Revival of Islamic Heritage Society (RIHS) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนซึ่งมีฐานอยู่ในประเทศคูเวต ได้ก่อตั้งขึ้นในกัมพูชาในปี 1996 ได้บริจาคเงินสร้างสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าประจำมัสยิดบางแห่งสำหรับเด็กชาย เช่นที่มัสยิด Nun-ul-Islam ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางเหนือ และยังมีที่กำโปต ตะแก้ว เกาะกง กำปงชนัง บัตตำบอง หรือพระตะบอง และกำปงจาม (ที่มัสยิด Chumnik) เป็นต้นนอกจากนี้ ยังมี World Assembly of Muslim Youth Charity Organization (WAMY) ซึ่งได้จดทะเบียนในกัมพูชาในปี 2002 ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวมุสลิมยากจน และยังมี International Islamic Relief Oraganization (IIRO) Al Haramain Islamic Foundation และ Muslim Aid เป็นต้น

#มุสลิมในประเทศกัมพูชา

มุสลิมกัมพูชามีอยู่สองประเภท” Sary Abdullah ประธานกลุ่มเคลื่อนไหวอิสลามกัมพูชา (the Islamic National Movement for Democracy of Cambodia) บอกผมในขณะที่เราสนทนาด้วยกัน “กลุ่มแรกเรียกว่า Sunni Muslims กลุ่มนี้สืบเชื้อสายมาจากชาวอาหรับ พวกเขาละหมาดวันละห้าเวลากลุ่มที่สองเรียกว่า Fojihed Muslims พวก เขาละหมาดเพียงสัปดาห์ละครั้ง มีการนับถือการการตีความตามศาสนาโบราณ ของจาม พูดภาษาจาม และยังคงอนุรักษ์ประเพณีเก่าแก่ของชาวจามอย่างเหนียวแน่น” Abdullah อธิบายว่า “Fojihed ยัง คงธำรงไว้ซึ่งความเชื่อต่างๆ ก่อนที่อิสลามจะเข้ามาสู่ดินแดนจามเช่น เชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ ไสยศาสตร์ และเชื่อว่าสามารถเข้าถึงอำนาจสูงสุดด้วยพลังแห่งรหัสนัย สิ่งเหล่านี้เรียกว่า“Chai” คล้ายๆ กับ “Chi” ของผู้ที่ฝึกฝน Kung Fu นั้นเอง”

ต่อไปนี้เป็นคำถามจากกระผมได้ถามเพื่อนนักศึกษากัมพูชามหาวิทยาลัยฟาฎอนี

1- สิทธิและเสรีภาพของประชาชนมุสลิมในกัมพูชา ได้รับมากแค่ไหน?

ตอบ มากครับ ประเทศผมให้สิทธิและเสรีภาพในทุกๆด้านของชีวิตเลยก้อว่าได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแต่งกายตามแบบวิธีชีวิตมุสลิม การปฏิบัติศาสนกิจ แทบทุกอย่างจะได้รับสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตโดยไม่ขัดหลักต่อศาสนาอิสลาม

2- การเรียนรู้ศาสนาอิสลามของประชาชนมุสลิมกำพูชา?

ตอบ แรกเริ่มยังผมจำความได้คนในครอบครัวพ่อแม่เป็นคนสอนทำการละหมาด และปฏิบัติศาสนกิจอื่นๆ ต่อมาผมก็ได้โตขึ้นเข้าโรงเรียน ในโรงเรียนก้อมีวิชาหนึ่งที่สอนเกี่ยวกับศาสนาอิสลามมีทั้งแบบทฤษฎีและการปฏิบัติ จนกระทั่งผมสามารถรู้หลายๆอย่างที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามในประเทศของผม

3- ความเคร่งครัดการนับถือศาสนาอิสลามมากน้อยเพียงใด?

ตอบ โดยปกติแล้วประชาชนในประเทศของผมนั้น คนมุสลิมไม่มากเท่าไรหรอกน้อยมาก แต่สังคมที่ผมอยู่นั้นส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัยของคนมุสลิม แต่เรื่องศาสนาก็ไม่ค่อยเคร่งครัดเท่าไรและไม่ละเลยเกินไป ถึงเวลาก้อละหมาด มีการอาซาน มีการเรียนการสอนอัลกุรอานและมีการบรรยายธรรมศาสนาอิสลาม สังคมความเป็นอยู่แบบอิสลาม

4- ความกับขัดแย้งระหว่างประชาชนมุสลิมกับต่างศาสนิกมีบ้างไหม?

ตอบ ความขัดแย้งในเรื่องศาสนาของประเทศผมนั้นแทบจะไม่มีเลย สวนความขัดแย้งที่เกิดขึ้นก็มีบ้างแต่ก็เป็นเรืองสวนตัวไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาเลย

5- อาชีพส่วนมากของประชาชนมุสลิมกัมพูชา?

ตอบ ส่วนมากก็จะประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก แม้แต่พ่อแม่ผมก้อประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลัก และรองต่อมาก็จะประกอบอาชีพการประมง ซึ่งเป็นชาวมุสลิมที่อยู่ใกล้ทะเล

ที่มา : https://ilmu2general.blogspot.com/2014/08/blog-post_18.html?m=1