การละหมาดวันศุกร์ตามทีวี, วิทยุ หรือไลฟ์สด ใช้ได้หรือไม่?

ADMIN

การละหมาดวันศุกร์ตามทีวี, วิทยุ หรือไลฟ์สด ถือว่าใช้ไม่ได้ (ไม่เศาะห์)

ศาสตราจารย์อลีย์ ญุมอะฮ์ ได้ระบุว่า :

إن صلاة الجمعة خلف إمام في التلفزيون أو الإذاعة، ليست صحيحة، سواء كانت بالمسجد أو البيت

“การละหมาดวันศุกร์ตามอิหม่ามในโทรทัศน์หรือวิทยุนั้น ถือว่าใช้ไม่ได้ (ไม่เศาะห์) ไม่ว่าจะไปละหมาดกันที่มัสยิด (แล้วตามอิหม่ามในทีวี) หรือที่บ้านก็ตาม”

สถาบันวิจัยและชี้ขาดปัญหาศาสนาของประเทศซาอุฯ ได้ระบุไว้ว่า :

لا تجوز ، سواء كانت فرضاً أم نفلاً ، ولو سمعت قراءة الإمام وتكبيره

“ไม่อนุญาต (ให้ละหมาดตามดังที่กล่าวมา) ไม่ว่าจะละหมาดภาคบังคับหรือสมัครใจ ถึงแม้ว่าจะได้ยินการอ่านของอิหม่ามและเสียงตักบีรก็ตาม”

สถาบันชี้ขาดปัญหาศาสนา แห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ระบุว่า :

لا يجوز الاقتداء بالإمام من خلال الإذاعة أو التلفزيون لعدم اجتماعهم في مكان واحد

“ไม่อนุญาตให้ตามอิหม่ามจากเสียงวิทยุหรือตามทีวี โดยที่ไม่มีการรวมละหมาดในสถานที่เดียวกัน”

สถาบันชี้ขาดปัญหาศาสนา ประเทศจอร์แดน ได้ระบุว่า :

من شروط صحة الاقتداء أن يكون الإمام والمأموم في مكان واحد، ولذا لا تصح صلاة

“ส่วนหนึ่งจากเงื่อนไขเศาะฮ์ละหมาดนั้น คือการที่อิหม่ามและมะอ์มูมอยู่ในสถานที่เดียวกัน และการละหมาดเช่นนี้ (ละหมาดตามอิหม่ามในทีวี) ถือว่าละหมาดใช้ไม่ได้”

คณะกรรมการนิติศาสตร์อิสลามและวินิฉัยปัญหาศาสนา แห่งสมาพันธ์ยุวมุสลิมโลก ก็ได้ระบุได้เช่นกันว่า :

إن أداء صلاة الجمعة والاستماع لخطبتها بالتلفاز والمذياع ونحوهما لا يجوز شرعًا؛ لمخالفته للشروط والأركان الشرعية

“แท้จริงแล้วการละหมาดญุมอะฮ์และฟังคุฎบะฮ์ผ่านทางทีวีและวิทยุหรืออะไรก็ตามที่ใกล้เคียงกัน เช่น ไลฟ์สด ไม่อนุญาตตามบทบัญญัติ อันเนื่องมาจากขัดแย้งกับเงื่อนไขและรูก่นศาสนา”

คณะกรรมการเพื่อการวินิจฉัยปัญหาศาสนา แห่งสถาบันวิจัยศาสนาอิสลามของมหาวิทยาอัลอัสฮัร ได้ระบุว่า :

لا تصح صلاة الجمعة بواسطة التلفاز أو المذياع أو عبر وسائل الاتصالات الحديثة ، ومن فعل ذلك فصلاته باطلة

“การละหมาดญุมอัตผ่านสื่อกลางทางทีวีหรือวิทยุหรือสื่อใดๆก็ตามที่เป็นสื่อกลางในการตามละหมาดนั้นถือว่าใช้ไม่ได้ และผู้ใดที่ละหมาดตาม (อิหม่าม) ในรูปแบบดังกล่าว การละหมาดนั้นถือว่าเป็นโมฆะ”

สภาอิสลามเพื่อการวินิจฉัยปัญหาศาสนา บัยตุลมักดิส ได้ระบุว่า :

فهذا لا يصح عند جماهير أهل العلم

“อนึ่งการละหมาด (ตามทีวีหรือวิทยุนั้น) ใช้ไม่ได้ตามทัศนะของปวงปราชญ์ผู้ทรงความรู้”

สภาเพื่อการวินิจฉัยและวิจัยปัญหาศาสนาแห่งยุโรป ได้ระบุว่า :

صلاة الجمعة في البيوت خلف المذياع أو التلفاز أو البث المباشر أو غير ذلك من وسائل الاتصال الشبكي لا تجوز، ولا تجزئ عن صلاة الجمعة، ولا تُسقط صلاةَ الظهر عمّن صلّاها على هذا النحو

“การละหมาดญุมอัตที่บ้านโดยตามวิทยุ หรือทีวี หรือไลฟ์สดหรือวิธีอื่นๆ จากระบบเครือข่ายไร้สายนั้นไม่อนุญาต และไม่อนุให้ทำการละหมาดญุมอัต และเช่นนี้นั้นละหมาดซุฮ์รีย์นั้นจะไม่ตกไปสำหรับผู้ที่ละหมาดในวิธีดังกล่าว (เพราะละหมาดใช้ไม่ได้)”

ดังนั้นท่านใดที่มีความกระหายที่จะอยากละหมาดวันศุกร์ ก็ขอให้ปฏิบัติละหมาดซุฮ์รีย์แทนที่บ้านเถิด เพราะการละหมาดแบบดังกล่าวนั้นไม่มีการเชื่อมต่อกับอิหม่ามเลย ซึ่งดังกล่าวนี้คือเงื่อนไขหนึ่งในการละหมาด หากเราดันไปละหมาดตามไลฟ์สด ก็ระวังๆสักนิด อินเทอร์เน็ตอาจจะหลุดได้นะครับ ท่านยังรุกั้วะอ์ สัญญาณมาอีกทีอิหม่ามอาจสุญูดแล้วก็เป็นได้

Reference :

https://www.e-cfr.org/البيان-الختامي-للدورة-الطارئة-الثلاث/

http://www.fatawah.net/Fatawah/1090.aspx

https://m.youm7.com/story/2020/3/29/كيف-تصلى-صلاة-التسابيح-وما-حكمها-لجنة-الفتوى-بمجمع-البحوث/4693769

https://m.al-sharq.com/article/25/03/2020/لجنة-الفقه-والفتوى-بالاتحاد-العالمي-لعلماء-المسلمين-أداء-صلاة-الجمعة-والاستماع-لخطبتها-بالتلفاز-والمذياع-لا-يجوز-شرعا

https://www.aliftaa.jo/Question1.aspx?QuestionId=990#.XpebXzNTkwA

https://www.emaratalyoum.com/ramadan/q-a/2015-06-22-1.796135

https://www.islamweb.net/ar/fatwa/123585/%D8%AD%D9%83%D9%85-%D8%B5%D9%84%D8%A7%D8%A9-%D8%A7%D9%84%D8%AC%D9%85%D8%B9%D8%A9-%D9%81%D9%8A-%D9%85%D9%83%D8%A7%D9%86-%D9%8A%D9%8F%D8%B4%D8%A7%D9%87%D8%AF-%D9%81%D9%8A%D9%87-%D8%A7%D9%84%D8%AA%D9%84%D9%81%D8%A7%D8%B2

https://www.elbalad.news/2661886

https://www.youm7.com/story/2020/3/26/%D8%AF%D8%A7%D8%B1-%D8%A7%D9%84%D8%A5%D9%81%D8%AA%D8%A7%D8%A1-%D8%B5%D9%84%D8%A7%D8%A9-%D8%A7%D9%84%D8%AC%D9%85%D8%B9%D8%A9-%D9%84%D8%A7-%D8%AA%D8%AC%D9%88%D8%B2-%D8%AE%D9%84%D9%81-%D8%A7%D9%84%D8%AA%D9%84%D9%8A%D9%81%D8%B2%D9%8A%D9%88%D9%86-%D8%A3%D9%88-%D8%A7%D9%84%D8%A5%D8%B0%D8%A7%D8%B9%D8%A9/4689703

https://islamqa.info/ar/answers/50245/%D9%84%D8%A7-%D8%AA%D8%B5%D8%AD-%D8%A7%D9%84%D8%B5%D9%84%D8%A7%D8%A9-%D9%81%D9%8A-%D8%A7%D9%84%D8%A8%D9%8A%D8%AA-%D9%88%D9%87%D9%88-%D9%8A%D8%AA%D8%A7%D8%A8%D8%B9-%D8%A7%D9%84%D8%A7%D9%85%D8%A7%D9%85-%D9%85%D9%86-%D8%AE%D9%84%D8%A7%D9%84-%D8%A7%D9%84%D9%85%D8%B0%D9%8A%D8%A7%D8%B9-%D8%A7%D9%88-%D8%A7%D9%84%D8%AA%D9%84%D9%8A%D9%81%D8%B2%D9%8A%D9%88%D9%86

cr : สำนักพิมพ์เพื่อการค้นคว้าวิจัยด้านนิติศาสตร์อิสลาม
________________________________
#อิสลามตามอุลามาอฺแบบฉบับนบีﷺ