จริงหรือ!! พูดคุยเรื่องดุนยาในมัสยิด จะถูกลบล้างอาม้าลถึง 40 ปี

ADMIN

ขอบเขตการห้ามพูดคุยในมัสยิด

● บ่อยครั้งเราอาจได้ยินการสำทับจากคนบางคนเกียวกับการพูดคุยกันเรื่องต่างๆโดยเฉพาะเรื่องดุนยาในมัสยิด ว่าเป็นสิ่งต้องห้าม حرامอย่างสิ้นเชิง นอกจาก คำพูดที่เกียวกับศาสนาเท่านั้น เช่น พูดบรรยาย สอนศาสนา อ่านอัลกุรอาน ซิกิร หรืออาม้าลอื่นๆ เป็นต้น

ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มักจะอ้างฮาดิษที่ว่า ห้ามพูดคุยเรื่องดุนยาในมัสยิด มิฉะนั้น อัลลอฮ์จะลบล้างผลบุญอาม้าลของเขาผู้นั้นถึง 40 ปีด้วยกัน โดยฮาดิษดังกล่าวนี้ไม่รู้ว่าเป็นฮาดิษศอเฮียะห์หรือไม่ เพราะอุลามะอฮาดิษส่วนใหญ่จะฮุกุ่มฮาดิษนี้ว่าเป็น موضوع [ฮาดิษที่กุขึ้นมาหรือเรียกกันว่าฮาดิษปลอม]นั่นเอง…

ทั้งนี้ เพราะนอกเหนือจากการตรวจสอบสายรายที่ไม่น่าถือของฮาดิษดังกล่าวแล้ว ก็จะพบว่าเนื้อหาสาระแห่งการสำทับของมัน ก็จะค้านกับฮาดิษศอฮิห์หลายๆ ฮาดิษด้วยกัน ที่รายงานถึงพฤติกรรมของเหล่าศอฮาบะฮ์ของท่านนบี ที่พวกเขาก็มีการพูดคุยสนธนากันในมัสยิดซึ่งดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่ามันก็มิได้เป็นเรื่องต้องห้าม حرام เสมอไป

● เช่น ฮาดิษบทหนึ่งในศอเฮียะมุสลิม รายงานว่าศอฮาบะห์ก็มีการพูดคุยกันในมัสยิด แม้แต่เรื่องราวตลกๆ ที่เคยเกิดขึ้นสมัยยุคญะฮีลียะฮ์ในอดีต จนพวกเขามีการหัวเราะห์กัน แต่เมื่อนบีศ็อลฯ เห็นพฤติกรรมดังกล่าวของพวกเขา นบีก็ยิ้ม โดยมิได้โกรธและมิได้สำทับเตือนห้ามพวกเขาแต่อย่างใด

และบนพื้นฐานฮาดิษดังกล่าวนี้แหละ ท่านอีหม่ามนะวาวี( รอหิมะฮุลลอฮ์)ได้ให้ทัศนะว่า

قال الإمام النووي رحمه الله من الشافعية: يجوز التحدث بالحديث المباح في المسجد وبأمور الدنيا وغيرها من المباحات وإن حصل فيه ضحك ونحوه ما دام مباحاً، لحديث جابر بن سمرة رضي الله عنه قال: كان رسول الله صلى الله عليه وسلم لا يقوم من مصلاه الذي صلى فيه الصبح حتى تطلع الشمس، فإذا طلعت قام، قال: وكانوا يتحدثون فيأخذون في أمر الجاهلية فيضحكون ويتبسم. رواه مسلم. المجموع شرح المهذب.

อนุญาตให้พูดคุยสนธนาเกียวกับเรื่องดีๆ ที่เป็นที่อนุญาต مباح หรือแม้แต่เรื่องเกี่ยวกับดุนยาก็ตามในมัสยิด ถึงจะแม้จะมีการหัวเราะบ้างก็ตาม ตราบใดที่มันยังเป็นคำพูดที่ مباح เพราะยึดหลักฐานฮาดิษของญาบีรซึ่งเนื้อหาบางส่วนได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง (ในมัจเมาะอ)

และปรากฏในฮาดิษบุคคอรีมีรายงานว่า ศอฮาบะห์คนหนึ่งทวงหนี้สินต่อศอฮาบะห์อีกคน จนเกิดปากเสียงกันดังในมัสยิด เนื่องจากตกลงกันไม่ลง จนนบีศ็อลฯ ต้องออกจากมาเคลียด้วยตนเอง แต่ในขณะเดียวกันท่านก็มิได้ตำหนิหรือห้ามการกระทำดังกล่าวของพวกเขาในมัสยิดแต่อย่างใด และฮาดิษอื่นๆอีกมากมาย..

● อย่างไรก็แล้วแต่ จึงขอสรุปดังนี้ว่า คำพูดใดที่ حرام (เป็นที่ต้องห้าม)พูดข้างนอกมัสยิด เช่น นินทา ใส่ร้าย หรืออื่นๆ เป็นต้น คำพูดเดียวกันนั่นแหละ ที่ห้ามเรานำมาพูดกันในมัสยิด เพราะความน่ารังเกียจหรือบาปของคำพูดที่ฮารอม(ที่พูดกันในมัสยิด)นั้น ย่อมมีมากกว่าที่พูดในที่อื่นๆอย่างแน่นอน ..ส่วนคำพูดทั่วไปที่ مباح ที่ไม่เป็นที่ต้องห้าม แม้เป็นเรื่องเกียวกับดุนยาสักทีก็ตาม ก็ถือว่าเป็นสิ่งอนุญาต ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ต้องห้ามเสมอไป .

แต่ก็มิได้หมายความว่า จะสนับสนุนให้มีการพูดคุยเรื่องทั่วๆไปในมัสยิด ทว่าเพียงแค่ต้องการจะสื่อเตือนว่า การกระทำบางอย่าง หากไม่มีตัวบทหลักฐานชัดเจนหรือเด็ดขาดถึงการห้ามที่ฮารอม เราก็ไม่ควรพูดสำทับจากการกระทำดังกล่าวนั้นจนเกินไปแบบเอาเป็นเอาตาย จนทำให้ถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ฮารอมไป ทั้งที่มันมิได้ถึงขั้นฮารอม อย่างมากก็มักรูฮก็เท่านั้น

والله تعالى اعلم بالصواب

เครดิต:Komaruddeen Yeeding