ความวิบัติจะเกิดกับผู้ที่พบกับรอมฏอน แต่กลับไม่ได้รับการอภัยโทษ

ADMIN

ความวิบัติจะเกิดกับผู้ที่พบกับรอมฏอน แต่กลับไม่ได้รับการอภัยโทษ

จากกะอับ บินอุจเราะฮฺ (รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า ท่านรอซูล (ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า “จงเข้ามาใกล้มิมบัดรฺ์เถิด” และพวกเราก็ได้เข้าไปใกล้ เมื่อท่านก้าวขึ้นบันไดขั้นที่หนึ่งท่านกล่าวว่า “อามีน” เมื่อท่านก้าวขึ้นบันไดขั้นที่สอง ท่านกล่าวว่า “อามีน” เมื่อท่านขึ้นบันไดขั้นที่สาม ท่านกล่าว่า “อามีน” เมื่อท่านกล่าวคุฏบะฮฺเสร็จแล้วลงมา พวกเราจึงกล่าวว่า “โอ้ ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ พวกเราได้ยินจากท่านในวันนี้ สิ่งซึ่งพวกเราไม่เคยได้ยินมันมาก่อนเลย” ท่านจึงกล่าวว่า “เมื่อฉันก้าวขึ้นขั้นที่หนึ่ง ญิบรออีล (อะลัยฮิสลาม) ได้มาปรากฎตัวต่อหน้าฉันและกล่าวว่า ความวิบัตจงมีแด่ผู้ที่พบเดือนรอมฏอนแล้ว แต่พวกเขาไม่ได้รับการอภัยโทษ” ฉันจึงกล่าวขึ้นว่า “อามีน” เมื่อฉันก้าวขึ้นบันไดขั้นที่สอง ญิบรออีล (อะลัยฮิสลาม) ได้กล่าวว่า “ความวิบัติจงมีแด่ผู้ที่เมื่อชื่อของท่านถูกกล่าวขานต่อหน้าแล้ว แต่เขามิได้ซอละวาต” ฉันจึงกล่าวว่า “อามีน” ก้าวขึ้นบันไดขั้นที่สาม ญิบรออีล (อะลัยฮิสลาม) กล่าวอีกว่า “ความวิบัติจงมีแด่ผู้ที่เขาได้อยู่ร่วมกับบิดาหรือมารดาหรือทั้งสองคนจนลุถึงวัยชราแล้ว โดยทั้งสองไม่ก่อให้เกิดผลให้เขาได้เข้าสวรรค์” ฉันจึงกล่าว “อามีน”

ในฮะดิษนี้ ญิบรออีล (อะลัยฮิสลาม) ได้สาปแช่งสามประการ ซึ่งท่านรอซูล (ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวว่าอามีน ในทุกประการ ในหนังสือดุรรุลมันซูดรฺ์ระบุว่า ญิบรออีล (อะลัยฮิสลาม) มีคำสั่งให้ท่านรอซูล (ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวคำว่าอามีน จากการที่เป็นมะลาอิกะฮฺที่มีตำแหน่งสูงถึงขนาดนั้นพร้อมอามีนของท่านนบี (ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) แน่นอนการตอบรับดุอาอฺของคำสาปแช่งก็จะต้องถูกตอบรับ ขออัลลอฮฺผู้ทรงไว้ซึ่งความเมตตาอันหาขอบเขตมิได้ ขอพระองค์ได้โปรดช่วยเหลือพวกเราโดยให้ปลอดพ้นจากภยันตรายเหล่านี้ด้วยเถิด

บุคคลประเภทแรกที่ตัวเองอยู่ในเดือนรอมฏอน เดือนแห่งความจำเริญและทรงคุณธรรม แต่ก็ยังใช้วันเวลาไปกับการทำบาปและไม่สนใจต่อหน้าที่ ดังนั้นจึงมิได้รับการอภัยโทษใดๆ และในเมื่อบุคคลหนึ่งไม่ได้รับการอภัยโทษในเดือนรอมฏอน ซึ่งเป็นเดือนแห่งศิริมงคลและการอภัยโทษ แล้วเขาจะได้รับการอภัยโทษในเดือนอื่นได้อย่างไร ความหายนะจึงชัดเจน ส่วนวิธีที่จะได้รับการอภัย ก็คือจะต้องให้ความสำคัญกับการถือศีลอดและละหมาดตะรอเวียะฮฺ ซึ่งเป็นอะม้าลในเดือนรอมฏอน พร้อมกันนั้นก็สำนึกผิดและขออภัยโทษจากความชั่วของเขาให้มากๆ

คุณค่าอาม้าล/คุณค่ารอมฏอน