อาหารซะฮูร มื้ออาหารแห่งความจำเริญ

ADMIN

อาหารซะฮูร มื้ออาหารแห่งความจำเริญ

ท่านนบี ﷺ กล่าวว่า :

عن أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ” تَسَحَّرُوا فَإِنَّ فِي السَّحُورِ بَرَكَةً ” رواه البخاري (1923) ومسلم (1095).

ท่านอนัส บิน มาลิก รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : ท่านนบีﷺกล่าวว่า :

“จงรับประทานอาหารซะฮูรเถิด เเท้จริงในซะฮูรนั้นมีความบะรอกะฮฺ(ความจำเริญ)”

(บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีย์เเละมุสลิม)

ซึ่งหะดีษนี้เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ว่าผู้ถือศิลอดนั้น ถูกสั่งใช้ให้รับประทานอาหารมื้อซะฮูร เพราะในอาหารมื้อนี้มีความดีงามอันมากมาย เเละมีความจำเริญอันยิ่งใหญ่ ทั้งด้านศาสนาเเละดุนยา เเละท่านนบีﷺได้กล่าวถึงซะฮูรเนื่องด้วยความจำเริญนั้น เป็นการส่งเสริมให้รับประทานซะฮูร เเละเป็นการกระตุ้นให้มีความปราถนาต่ออาหารมื้อนี้

และในหะดีษอีกบทหนึ่ง :

عَنْ جَابِرٍ عَنْ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : ” مَنْ أَرَادَ أَنْ يَصُومَ فَلْيَتَسَحَّرْ بِشَيْءٍ ” رواه أحمد (14533) وصححه الألباني في السلسلة الصحيحة (2309)

จากท่านญาบิร ท่านนบีﷺได้กล่าวว่า :

“ผู้ใดที่ประสงค์จะถือศิลอด เขาก็จงรับประทานมื้อซะฮูรด้วยสิ่งหนึ่งสิ่งใดเถิด”

(บันทึกโดยอิหม่ามอะหมัด เเละเชคอัลบานีย์ให้สถานะศ่อฮีฮฺ)

ซึ่งคำสั่งในหะดีษนั้น เป็นคำสั่งประเภทส่งเสริม ไม่ใช่คำสั่งประเภทกำหนดให้เป็นสิ่งจำเป็น(วาญิบ) เนื่องด้วยหลักฐานที่ว่าท่านนบีﷺเคยถือศิลอดต่อเนื่อง เเละบรรดาศอหาบะฮฺก็ถือศิลอดต่อเนื่องร่วมกับท่านด้วย ซึ่งการถือศิลอดต่อเนื่อง คือการที่ท่านถือศิลอดสองวันขึ้นไป โดยที่ไม่ละศิลอด เเต่ทว่าท่านถือศิลอดกลางวันพร้อมกับกลางคืนด้วย

และในซะฮูรนั้นมีความจำเริญอันยิ่งใหญ่ที่ครอบคลุมทั้งประโยชน์ทางดุนยาเเละอาคิเราะฮฺ :

1.เป็นการเสริมสร้างกำลังในการทำอิบาดะฮฺ เเละเป็นการขอการช่วยเหลือเพื่อการภัคดีต่ออัลลอฮฺในช่วงกลางวัน ไม่ว่าจะเป็นการละหมาด อ่านอัล-กุรอาน เเละรำลึก เพราะคนที่หิวโหยนั้น เขาจะเกียจคร้านจากการงานดังกล่าว ดังที่เขาเกียจคร้านจากกิจวัตรประจำวันของเขา ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด

2.เป็นการยับยั้งมารยาทที่ไม่ดีที่เป็นผลจากความหิว

3.เนื่องด้วยการรับประทานซะฮูรจะทำให้เกิดความปราถนาที่จะเพิ่มพูนในการถือศิลอด เพราะมันมีความลำบากที่น้อยนิดต่อผู้ที่รับประทานซะฮูร

4.เป็นการปฏิบัติตามซุนนะฮฺ ดังนั้นถ้าหากผู้ที่รับประทานซะฮูรตั้งเจตนาว่าการรับประทานซะฮูรของเขานั้นเพื่อเป็นการเจริญรอยตามคำสั่งใช้ของท่านนบีﷺเเละปฏิบัติตามการปฏิบัติของท่าน การรับประทานซะฮูรของเขาก็เป็นอิบาดะฮฺ อีกทั้งเขาก็จะได้รับภาคผลตอบเเทนในด้านนี้ เเละถ้าหากผู้ถือศิลอดตั้งเจตนาว่าการกินซะฮูรของเขา เพื่อเป็นการเสริมสร้างกำลังในการถือศิลอด เขาก็จะได้รับภาคผลตอบเเทนต่อการกระทำดังกล่าวด้วยเช่นกัน

5.ในเวลาซะฮูรนั้น มนุษย์จะลุกขึ้นมาในช่วงท้ายของเวลากลางคืนเพื่อการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ขอดุอาอฺ เเละละหมาด ซึ่งเวลาดังกล่าวเป็นเวลาของการตอบรับดุอาอฺ เเละเป็นเวลาของการศอลาวาตของอัลลอฮฺเเละบรรดามลาอิกะฮฺแก่บรรดาผู้รับประทานซะฮูร ดังที่ปรากฏในหะดีษของอบูซะอี๊ด รอฎิยัลลอฮุอันฮุ ที่จะกล่าวถัดจากนี้

6.เป็นการทำให้ต่างกับชาวคัมภีร์ ซึ่งมุสลิมจำเป็นที่จะต้องออกห่างจากการลอกเลียนเเบบพวกเขา ท่านนบีﷺกล่าวว่า :

“فصل ما بين صيامنا وصيام أهل اكتاب أكلة السحور ” .

“สิ่งที่เเยกระหว่างการถือศิลอดของเราเเละการถือศิลอดของชาวคัมภีร์นั้น คือการรับประทานมื้อซะฮูร”

7.ได้ละหมาดศุบฮฺร่วมกับญะมาอะฮฺเเละในเวลาที่ประเสริฐของมัน

ฉะนั้น จึงเป็นการสมควรที่ผู้ถือศิลอดจะต้องเอาใจใส่ต่อการรับประทานอาหารมื้อซะฮูร เเละอย่าได้ละทิ้งมัน

ซึ่งการรับประทานอาหารซะฮูรนั้นเกิดขึ้นด้วยกับสิ่งที่น้อยที่สุดที่มนุษย์บริโภคเข้าไปจากอาหารเเละเครื่องดื่ม ดังนั้นมันไม่ถูกเจาะจงด้วยอาหารอย่างใดเป็นการเฉพาะ

وعن أبي هريرة رض الله عنه قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : ” نعم سحور المؤمن التمر ” رواه أبو داوود(2345) وصححه الألباني في صحيح أبي داوود .

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : ท่านรอซูลุลลอฮฺﷺกล่าวว่า :

“อาหารซะฮูรที่ดีของผู้ศรัทธานั้น คืออินทผาลัม”

(บันทึกโดยอบูดาวูด เชคอัลบานีย์ให้สถานะศ่อฮีฮฺ)

عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيِّ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ” السُّحُورُ أَكْلَةٌ بَرَكَةٌ فَلا تَدَعُوهُ وَلَوْ أَنْ يَجْرَعَ أَحَدُكُمْ جَرْعَةً مِنْ مَاءٍ فَإِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى الْمُتَسَحِّرِينَ ” رواه أحمد (11003) وحسنه الألباني في صحيح الجامع (3683) .

ท่านอบูซะอีด อัล-คุดรีย์ กล่าวว่า : ท่านรอซูลุลลอฮฺﷺกล่าวว่า :

“มื้อซะฮูรนั้น คืออาหารที่มีความจำเริญ ดังนั้นพวกท่านอย่าได้ละทิ้งมัน ถึงเเม้ว่าการที่คนใดในหมู่พวกท่านจะดื่มน้ำเเค่อึกเดียวก็ตาม เพราะเเท้จริงอัลลอฮฺเเละบรรดามลาอิกะฮฺของพระองค์จะทำการศอลาตแก่บรรดาผู้ที่รับประทานมื้อซะฮูร” (ศอลาตของอัลลอฮฺ คือการประทานความโปรดปราน ส่วนการศอลาวาตของมลาอิกะฮฺคือ พวกเขาจะขอให้อัลลอฮฺทรงอภัยโทษให้)

(บันทึกโดยอิหม่ามอะหมัด เเละเชคอัลบานีย์ให้สถานะหะซัน)

เวลาที่ประเสริฐที่สุดของการรับประทานซะฮูร

عَنْ زَيْدِ بْنِ ثَابِتٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : ” تَسَحَّرْنَا مَعَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثُمَّ قَامَ إِلَى الصَّلَاةِ قُلْتُ كَمْ كَانَ بَيْنَ الْأَذَانِ وَالسَّحُورِ قَالَ قَدْرُ خَمْسِينَ آيَةً ” رواه البخاري (1921) ومسلم (1097)

ท่านยะซีด บิน ซาบิต รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : เราได้รับประทานซะฮูรร่วมกับท่านนบีﷺ หลังจากนั้นท่านได้ลุกขึ้นไปทำการละหมาด ฉันก็กล่าวว่า : ระหว่างอะซาน(หมายถึงอิกอมะฮฺ)กับการรับประทานซะฮูรมีระยะเวลาเท่าใด ? ท่านกล่าวว่า : “ประมาณ(อ่านอัล-กุรอาน) 50 อายะฮฺ”

(บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีย์เเละมุสลิม)

ซึ่งหะดีษนี้เป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าส่งเสริมให้ประวิงการรับประทานซะฮูรไปจนถึงก่อนเวลาฟัจรฺ(เข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ)เพียงเล็กน้อย ดังนั้นระยะเวลาระหว่างเสร็จสิ้นจากการรับประทานซะฮูรของท่านนบีﷺ

-ซึ่งท่านยะซีดอยู่กับท่านด้วย- ไปจนถึงเวลาเข้าสู่การละหมาดนั้น คือระยะเวลาเท่ากับที่คนๆหนึ่งอ่านอัล-กุรอาน 50 อายะฮฺ หมายถึงการอ่านในระดับปานกลาง ไม่เร็วเเละไม่ช้าจนเกินไป ซึ่งสิ่งนี้บ่งชี้ให้เห็นว่าเวลาละหมาดกับเวลาเริ่มงดเว้นอาหารนั้นใกล้เคียงกัน

ซึ่งอาซานในหะดีษนี้หมายถึงการอิกอมะฮฺ เหตุที่ถูกเรียกว่าอาซานเพราะเป็นการเเจ้งให้ไปสู่การละหมาด ซึ่งได้ปรากฏหะดีษในบันทึกของอิหม่ามบุคอรีย์(576) มีคนถามท่านอนัส(ผู้รายงานหะดีษ)ว่า :

كَمْ كَانَ بَيْنَ فَرَاغِهِمَا مِنْ سَحُورِهِمَا وَدُخُولِهِمَا فِي الصَّلاةِ قَالَ قَدْرُ مَا يَقْرَأُ الرَّجُلُ خَمْسِينَ آيَةً ”

“ระยะเวลาระหว่างเสร็จสิ้นจากการรับประทานซะฮูรของท่านทั้งสอง(ท่านนบีกับท่านยะซีด)กับเวลาที่ท่านทั้งสองเข้าสู่ละหมาด(ศุบฮฺ)ยาวนานเท่าใด ?”

ท่านอนัสตอบว่า : “ระยะเวลาเท่ากับที่คนๆหนึ่งอ่านอัล-กุรอาน 50 อายะฮฺ”

ส่วนการเร่งรีบในการรับประทานซะฮูรนั้น เป็นสิ่งที่อนุญาต เเต่เป็นการกระทำที่ไม่ตรงกับเเบบอย่างของท่านนบีﷺ

อ้างอิง : https://islamqa.info/ar/ref/islamqapages/53