ความมหัศจรรย์ ตัวเลขในอัลกุรอาน

ADMIN

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอัล-กุรอานและได้ค้นพบข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการต่างๆ อันน่าทึ่งและน่าอัศจรรย์ใจอย่างมากมาย และจากการค้นพบอีกอย่างหนึ่งจากโองการต่างๆ ในคัมภีร์อัล-กุรอานนั้น พบว่า มีการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นคู่กัน หรือตรงข้ามกัน ในจำนวนที่เท่ากัน เช่น กล่าวถึงคำว่า ผู้ชาย เท่ากับการกล่าวถึงคำว่า ผู้หญิง

จากการวิเคราะห์โองการต่างๆ ของอัล-กุรอาน นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าลักษณะเช่นนี้มีอยู่ตลอดทั้งเล่มของอัล-กุรอาน ต่อไปนี้คือจำนวนครั้งอันน่าทึ่งในการกล่าวถึงคำหนึ่งๆ ที่คู่หรือตรงข้ามกันในคัมภีร์อัล-กุรอาน

ดุนยา (โลกแห่งการมีชีวิตนี้) 115 ครั้ง ……… อาคีเราะฮ์ (ปรโลก) 115 ครั้ง

มะลาอิกะฮ์ (เทวทูต) 88 ครั้ง ……… ชัยฏอน (มารร้าย) 88 ครั้ง

ชีวิต 145 ครั้ง ……… ความตาย 145 ครั้ง

ผลประโยชน์ 50 ครั้ง ……… ความเสียหาย 50 ครั้ง

ประชาชาติ 50 ครั้ง ……… ศาสนทูต 50 ครั้ง

อิบลีส (หัวหน้ามารร้าย) 11 ครั้ง ……… ขอความคุ้มครองให้พ้นจากอิบลีส 11 ครั้ง

มุซีบะฮ์(ภัยพิบัติ) 75 ครั้ง ……… ขอบคุณ 75 ครั้ง

การให้ทาน 73 ครั้ง ……… ความอิ่มเอิบใจ 73 ครั้ง

ผู้หลงผิด 17 ครั้ง ……… คนตาย 17 ครั้ง

มุสลิมีน 41 ครั้ง ……… การญิฮาด(ต่อสู้ในหนทางของพระเจ้า) 41 ครั้ง

ทอง 8 ครั้ง ……… ชีวิตที่ง่ายดาย 8 ครั้ง

ซะกาต (ภาษีที่มุสลิมจ่ายให้คนยากจน) 32 ครั้ง ……… บะรอกัต (สิริมงคล) 32 ครั้ง

จิตใจ 49 ครั้ง ……… รัศมี 49 ครั้ง

ลิ้น 25 ครั้ง ……… การเทศนาธรรม 25 ครั้ง

ความปรารถนา 8 ครั้ง ……… ความกลัว 8 ครั้ง

พูดต่อสาธารณะ 18 ครั้ง ……… การเผยแพร่ 18 ครั้ง

ความยากลำบาก 114 ครั้ง ……… ความอดทน 114 ครั้ง

มุฮัมมัด 4 ครั้ง ……… ชะรีอะฮ์ (คำสอนของมุฮัมมัด) 4 ครั้ง

ผู้ชาย 24 ครั้ง ……… ผู้หญิง 24 ครั้ง

เพียงความมหัศจรรย์ทางตัวเลขด้านไวยากรณ์ก็น่าทึ่งเพียงพออยู่แล้ว ลองมาดูความมหัศจรรย์ของตัวเลขในอัล-กุรอานทางด้านวิทยาศาสตร์ดูบ้าง

เดือน 12 ครั้ง, วัน 365 ครั้ง, ซอลาต (การนมาซ) 5 ครั้ง

ทะเล 32, แผ่นดิน 13

ทะเล + แผ่นดิน = 32+13= 45

ทะเล = 32 ÷ 45×100=71.11111111%

แผ่นดิน = 13 ÷ 45×100 = 28.88888889%

ทะเล + แผ่นดิน =100.00%

วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เพิ่งจะค้นพบความจริงแล้วว่า พื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ 71.111% ในขณะที่ปกคลุมด้วยแผ่นดิน 28.889%

ข้อเท็จจริงนี้เป็นเรื่องบังเอิญกระนั้นหรือ?

ใครสอนเรื่องเหล่านี้ให้แก่ศาสดามุฮัมมัด(ศ.)?

คำตอบจะเกิดขึ้นในใจทันที อัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่เท่านั้นที่สอนท่าน ดังที่อัล-กุรอานได้บอกกับเราด้วยว่า

“…ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ท่าน มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ท่าน แท้จริงข้าพระองค์เป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย” (อัล-กุรอาน 21 : 87)

Mathematical Miracle of Qur’an

ความมหัศจรรย์ของกุรอานในเชิงตัวเลขนั้น ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของ ดร.ราซิด คาลิฟา ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์กุรอานในเชิงตัวเลข ปรากฏในผลงานของ ดร.ราซิด คาลีฟา 6 เล่ม (ดร.ราซิด คาลีฟา เสียชีวิต 31 มค. 1990 โดยถูกฆาตกรรม ด้วยบุคคลมากกว่า 1 คน

ในช่วงเช้า ที่สำนักงาน ของท่าน ที่ Tuscon, Arizona ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นฝีมือของกลุ่มใด แต่เข้าใจว่าเป็นกลุ่มที่ต่อต้านอิสลาม เพราะท่านเป็นนักคิดที่เก่งกาจ และมองโลกกว้างมาก ดร.ราซิด คาลีฟา เป็นนักเคมี โดยอาชีพ)

1..MIRACLE OF QURAN,Significance of the Mysterious Alphabets, Islamic Production,St. Louis, Missouri, 1973

2.THE COMPUTER SPEAKS,God’s Message to the World, Renassance Production, Tuscon, Arizona, 1981

3.QUR’AN,The Final Scripture, Islamic Production, Tuiscon, Arizona, 1981

4. QUR’AN,VISUAL PRESENTATION OF THE MIRACLE,Ibid, 1982

5.QUR’AN,HADITH AND ISLAM, Ibid, 1982

6.QUR’AN,The Final Testament,Ibid, 1989

ความอัศจรรย์ของตัวเลขในกุรอานมีทั้งในระดับง่ายๆและในระดับที่ต้องวิเคาระห์อย่างซับซ้อน ในที่นี่จะสรุปอย่างสั้นๆ ดังนี้

1.เลข 19 เป็นเลขพื้นฐานที่พบในกุรอาน(และพบในคัมภีร์ โตราฮฺ ของยิว) ดังนี้

1.1 ในกุรอานมีทั้งหมด 114 ซูเราะหรือบท เลข 114 คือ 19 x 6

1.2 ในกุรอานมีอายัต(Verses) รวมทั้งหมด 6,346 คือ 19 x 334 และ 6,346 คือ 6+3+4+6 = 19

1.3 อายัตแรกของกุรอานคือ “บิศมิลลาฮฺฮิรเราะมาน นิรรอฮีม” ด้วยนามของอัลลอฮฺผู้เมตตายิ่ง ปราณียิ่ง จะประกอบด้วยอักษรอาหรับ 19 ตัว

1.4 ซูเราะที่ 9 ไม่ได้เริ่มด้วย บิศมิลลาฮฺ แต่มีบิศมิลลาฮฺ 2 ครั้งในซูเราะที่ 27 เลขซูเราะตั้งแต่ 9 ถึง 27 บวกกันคือ

9+10+11+12+….27 = 342 เลข 342 คือ 19 x 18

1.5 เลข 342 = 19 x 18 นี้มีค่าเท่ากับจำนวนคำระหว่างบิศมิลลาฮฺ ทั้งสองในซูเราะที่ 27

1.6 วะฮยูแรกๆ คือซูเราะฮฺที่ 96 อายัตที่ 1-5 มีจำนวนคำ 19 คำ ใน 19 คำนี้ประกอบด้วยตัวอัษร 76 ตัว เลข 76 คือ 19 x 4

1.7 ซูเราะที่ 96 เรียงตามเหตุการมีทั้งหมด 19 อายัต

1.8 ซูเราะที่ 96 ประกอบด้วยตัวอักษรอาหรับ 304 ตัว คือ 19 x 16

1.9 วะฮ์ยูสุดท้ายคือซูเราะที่ 110 มีทั้งหมด 19 คำ และอายัตแรกในซูเระที่ 110 นี้มี 19 ตัวอักษร

1.10 คำว่า พระเจ้า หรื อัลลอฮฺ ปรากฏตลอดกุรอ่าน 2,698 ครั้ง 2,698 = 19 x 142

1.11 จำนวนครั้งของคำว่า “พระเจ้า” ที่ปรากฏในซูเราะต่างๆ หากนำเอาเลขซูเราะมาบวกกันจะได้ค่า 118,123 = 19 x 6217

1.12 จุดเด่นของกุรอานจะกล่าวถึง “พระเจ้าหนึ่งเดียว” ตัวเลข “หนึ่ง” ที่อ้างถึงอัลลอฮฺมีทั้งหมด 19 ครั้ง

1.13 คำว่า กุรอาน ปรากฏทั้งมดใน 38 ซูเราะ 38 = 19 x 2

1.14 จำนวนครั้งที่กล่าวคำว่า กุรอาน ทั้งหมด 57 ครั้ง เลข 57 = 19 x 3

1.15 ตลอดเล่มของกุรอานกล่าวถึงตัวเลข เหล่านี้ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12,19,20,30,40,50,60,70,80,99,100,200,300,1000,
2000,3000,5000,50000,100000 ตัวเลขเหล่านี้บวกกันได้ 162146 =19 x 8534

อัศจรรย์เลข 19

wahed ที่หมายถึง “หนึ่ง” ในภาษาอาหรับ คือ วาว(6),อาลีฟ(1),ฮา(8),ดา(4) ตัวเลขหลังอักษรนั้นคือค่า gematrical value
ที่ถูกกำหนดให้กับ อักษรภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักภาษาศาสตร์(ค่าเหล่านี้มีในอักษร อาหรับ,ฮิบรู,อรามิอิก,กรีก)

6+1+8+4 = 19

19 เป็นเลขเฉพาะ(Prime:เลขที่ไม่มีตัวประกอบ)ที่ไม่ธรรมดา

19 คือ ผลบวกของยกกำลังแรกของ 9 และ 10 คือ 9+10 = 19

19 คือ ผลต่างของกำลังสองของ 9 และ 10 คือ 100-81 = 19

มหัศจรรย์อัลกุรอาน

http://cis.psu.ac.th/fathoni/lesson/sci/number.html