มุสลิมเดินทางมาทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัส

ADMIN

มุสลิมเดินทางมาทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัส

เขียนโดย Abu Asybal

มีหลักฐานหลายประการที่บ่งบอกว่าชาวมุสลิมได้เดินทางจากสเปนและแอฟริกาเหนือมุ่งสู่ทวีปอเมริกาก่อนการเดินทางของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นเวลา 5 ศตวรรษเป็นอย่างน้อย ซึ่งประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ อาทิเช่น ในกลางศตวรรษที่ 10 แห่งคริสต์ศักราช ในช่วงการปกครองของเคาะลีฟะฮฺอะมะวิด (บนีอุมัยยะฮฺ) ที่อันดาลูเซีย อับดุลเราะหฺมานที่ 3 (ปกครองระหว่างปี ค.ศ. 929-961)

ชาวมุสลิมจากเชื้อสายแอฟริกันได้ล่องทะเลจากท่าเรือสเปน เดลบา/ปาโลส (Delba/Palos) มุ่งสู่มหาสมุทรที่มืดสนิทและปกคลุมด้วยหมอก (Ocean of darkness and fog) ต่อมาพวกเขาก็เดินทางกลับหลังจากที่พวกเขาได้หายไปเป็นเวลานานพร้อมกับทรัพย์สินที่ได้มาจากสงคราม (เฆาะนีมะฮฺ) อันมากมายที่นำมาจากแผ่นดินต่างถิ่นและห่างไกลนั้น (a strange and curious land)

ข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้งอย่างหนึ่งคือ ชาวมุสลิมพื้นเมืองดั้งเดิมกลุ่มหนึ่งที่รู้จักเส้นทางได้เดินทางติดตามไปพร้อมกับโคลัมบัสด้วย ซึ่งต่อมานักสำรวจชาวสเปนกลุ่มหนึ่งก็ได้ไปถึงยังโลกแห่งใหม่นี้

ศูนย์กลางสำคัญแหล่งสุดท้ายของชาวมุสลิมที่สเปน ฆ็อรนาเฏาะฮฺ (Granada) ซึ่งได้ตกเป็นของชาวคริสเตียนในปี ค.ศ. 1492 เป็นเวลาเพียงไม่นานก่อนที่จะเริ่มการปฏิบัติการสำรวจแผ่นดินใหม่ของชาวสเปน มีผู้ที่ไม่ใช่ชาวคริสเตียนจำนวนหนึ่ง (โดยเฉพาะชาวมุสลิม) จำเป็นต้องหลบหนีจากการถูกกลั่นแกล้งและข่มเหงของชาวคาทอลิก หรือไม่ก็แสร้งยอมเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์เพื่อหลีกเลี่ยงจาการถูกข่มเหงดังกล่าว

มีสองพยานหลักฐานเป็นอย่างน้อยที่บอกเป็นนัยว่ามีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ที่สเปนอเมริกาก่อนปี ค.ศ. 1550 จะอย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงของประกาศิตสวรรค์หรือพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยกษัตริย์สเปนชาร์เลสที่ 5 ในปี ค.ศ. 1539 ได้บีบคั้นให้ลูกหลานชาวมุสลิมต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังแผ่นดินอินดีสเหนือ (West Indies) และพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1543 แล้วด้วยมติดังกล่าวทำให้ชาวมุสลิมทั้งหมดถูกขับออกจากดินแดนของสเปน

เช่นเดียวกับที่มีหนังสืออ้างอิงจำนวนมากที่ยืนยันถึงการเดินทางเข้าสู่ทวีปอเมริกาของชาวมุสลิมก่อนหน้านั้น ซึ่งสามารถกล่าวพอสังเขปได้ดังต่อไปนี้

ก. เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ (HISTORIC DOCUMENTS)

1. นักประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์มุสลิม อบู อัลหัสสาน อะลี บิน อัลหุเสน อัลมัสอูดีย์ (ค.ศ. 871-957) ได้เขียนไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อ “มุรูจ อัซซะฮับ วะมะอาดิน อัลเญาฮัร (The meadows of gold and quarries of jewells) ว่าในสมัยการปกครองของเคาะลีฟะฮฺอับมุสลิมแห่งสเปนดุลลอฮฺ บิน มุหัมมัด (ค.ศ. 888-912) กลาสีเรือมุสลิมชาวกุรฏุบะฮฺ (Cordova) ชื่อ อัลค็อชคอช บิน สะอีด บิน อัสวัด ได้ออกแล่นเรือจากเดลบา (ปาโลส) ในปี ค.ศ. 889 และได้ตัดผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกจนไปถึงยังแผ่นดินที่ไม่เป็นที่รู้จัก และเดินทางกลับพร้อมกับขุมทรัพย์ที่ล้ำค่า และในแผนที่ของอัลมัสอูดีย์ได้อ้างถึงแผ่นดินที่กว้างใหญ่ที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรที่มืดสนิทและและปกคลุมด้วยหมอก (Ocean of darkness and fog) และระบุว่าเป็นแผ่นดินที่ไม่เป็นที่รู้จัก (the unknown territory) (อันหมายถึง ทวีปอเมริกานั่นเอง) (AL-MAS’UDI, Muruj Adh-Dhahab (Arabic), Vol. 1, P. 138)

2. นักประวัติศาสตร์มุสลิมชื่ออบูบะกัร บิน อุมัร อัลกูฏิยะฮฺ ได้เล่าว่า ในช่วงการปกครองของเคาะลีหะฮฺมุสลิมที่สเปนชื่อฮิชามที่ 2 (ค.ศ. 976-1009) ได้มีกลาสีเรือชาวมุสลิมอีกท่านหนึ่งนั่นคือ อิบนุฟัรรูค อัลฆ็อรนาฏีย์ (ชาวแกรนาดา) ได้เดินเรือออกจากกาดีช (Kadesh) ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 999 ไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกและได้แวะลงจอดเทียบยังเกาะแกนโด (Gando) หนึ่งในหมู่เกาะแคนารีที่ใหญ่โต (Great Canary islands) เพื่อเยี่ยมกษัตริย์กัวนารีกา (King Guanariga) หลังจากนั้นเขาจึงได้เดินเรือต่อและมุ่งหน้าไปทางตะวันตก จนกระทั่งเขาได้พบและตั้งชื่อเกาะไว้สองเกาะ นั่นคือ แคปราเรีย (Capraria) และปลุยตานา (Pluitana) และเขาได้เดินทางกลับไปยังสเปนในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 999 (ON MANUEL OSUNAY SAVINON, Resumen de la Geografia Fisica…,Santa Cruzde Tenerife, 1844)

3. โคลัมบัสได้เดินทางล่องเรือจากปาโลส (เดลบา) สเปน และได้ไปถึงยังเกาะโกมีรา –ฆุมัยเราะฮฺ- (GOMERA) เป็นหนึ่งในบรรดาหมู่เกาะแคนารี (Canary Islands) โกมีราหรือฆุมัยเราะฮฺ (غميرة) เป็นชื่อภาษาอาหรับ -ที่มาในรูปของคำนามที่ถูกทำให้ความหมายเดิมมีความหมายที่เล็กลง (ตัศฆีร) ซึ่งผันมาจากคำเดิมว่า “ฆุมรน หรือฆ็อมรน” (غمر)- หมายถึง “กลุ่มเล็กๆที่ชอบก่อความไม่สงบ ทะเลาะวิวาท และสร้างปัญหา” (small firebrand)

ที่นั่นโคลัมบัสได้ตกหลุมรักเบตริซ โบบาดิลลา (Beatriz BOBADILLA) ลูกสาวของผู้นำสูงสุดแห่งเกาะดังกล่าว -ตระกูลโบบาดิลลานี้ผันมาจากชื่อภาษาอาหรับว่า อบู อับดิลลาฮฺ (أبو عبد الله)- ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้นก็ตาม ตระกูลโบบิลลาก็เพิกเฉยและไม่ให้ความสนใจต่อเขาแต่อย่างใด

ต่อมา ฟรานซิสโก (Francisco) ทายาทของตระกูลโบบิลลาอีกท่านซึ่งเป็นตัวแทนหรือผู้ตรวจการณ์ของกษัตริย์ได้จับตัวโคลัมบัสและมัดเขาไว้ด้วยโซ่ตรวนและจัดการส่งตัวเขากลับจากแซนโต โดมินิโก (Santo Dominigo) สู่สเปน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1500 ครอบครัวโบบิลลามีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับราชวงศ์อัลอับบาดิยะฮฺแห่งเมืองอิชบีเลีย (Abbadid Dynasty of Seville) (ค.ศ. 1031-1091)

ในวันที่ 12 เดือนตุลาคม ค.ศ. 1492 โคลัมบัสได้จอดเทียบเรือยังเกาะเล็กๆแห่งหนึ่งในบาฮามัส (Bahamas) มีชื่อว่า กวนนาฮานี (GUANA HANI) ด้วยความช่วยเหลือของชนพื้นเมืองที่นั่น ซึ่งต่อมาเกาะนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ซาน ซัลวาดอร์ (SAN SALVADOR) โดยโคลัมบัส

คำว่า GUANA HANI เป็นสำนวนที่มาจากภาษามันดินกา (Mandinka) ซึ่งเป็นคำประสมของภาษาอาหรับสองคำเข้าด้วยกัน นั่นคือ GUANA ที่เพี้ยนมาจากคำว่า IKHWANA (إخوان) ที่หมายถึงพี่น้อง (brothers) ส่วนคำว่า HANI เป็นชื่ออาหรับ (هانيء) ดังนั้นชื่อเดิมของเมืองหรือเกาะนี้ก็คือ อิควานฮานีอ์ (إخوان هانيء) ทีแปลว่า พี่น้องของฮานีอ์ (HANI BROTHERS) (OBREGON ,MAURICIO The Columbus Papers,The Barcelona Letter of 1493, The Landfall)

เฟอร์ดินันด์ โคลัมบัส (Ferdinand Columbus) บุตรชายของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ได้บันทึกเกี่ยวกับชนผิวดำที่บิดาของเขาได้พบเห็นที่เมืองแฮนดูรัส (Handuras) ว่า “ประชาชนที่อาศัยอยู่ ณ ตะวันออกโพ้นในเขตคาวีนาส (Pointe Cavinas) เหมือนกับชาวแหลม Gracios a Dios ซึ่งพวกเขาเกือบทั้งหมดเป็นชนผิวดำ”

ในเวลาเดียวกัน ในเขตเดียวกันนี้มีกลุ่ม/เผ่าชาวมุสลิมพื้นเมืองอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของอัลมามีย์ (ALMAMY) ในภาษามันดินกา (Mandinka) และภาษาอาหรับผันหรือเพี้ยนมาจากคำว่า อัลอิมามิ (الإمامِ) หรืออัลอิมามุ (الإمامُ) ที่หมายถึงผู้นำละหมาด หรือบางครั้งจะหมายถึงผู้นำหรือหัวหน้าชุมชน และ/หรืออาจจะเป็นนามที่ใช้เรียกกลุ่มมุสลิมชีอะฮฺอิมามีย์ إمامي (Imami) (CAUVET, GILES Les Berbers de L’Amerique,Paris 1912,P.100-101)

4. ลีโอ เวเนอร์ (LEO WEINER) นักประวัติศาสตร์ และภาษาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Harvard University) ได้เขียนในหนังสือของเขาที่ชื่อ AFRICA AND THE DISCOVERY OF AMERICA “แอฟริกาและการสำรวจของอเมริกา” ฉบับพิมพ์ปี 1920 ว่า “โคลัมบัสนั้นทราบเป็นอย่างดีว่ามีชาวมันดินกาอาศัยอยู่ในแผ่นดินใหม่แห่งนั้น และชาวมุสลิมแถบแอฟริกาเหนือได้กระจัดกระจายอยู่ทุกหนทุกแห่งตามแนวเขตทะเลคาริบเบียน, เขตใจกลาง, ทางใต้และเหนือของแผ่นดินทวีปอเมริกา ซึ่งรวมถึงประเทศแคนาดาด้วย ซึ่งพวกเขาได้ประกอบอาชีพค้าขาย และได้แต่งงานมีครอบครัวกับชาวตระกูลอีโรกุยส์ (Iroquois) และอัลก็อนควีน (Algonquin) แห่งเผ่าอินเดียนแดง (WEINER,LEO Africa and the Discovery of America, Philadelphia 1920,Vol.2 P.365-6)

ข. การสำรวจทางภูมิศาสตร์ (GEOGRAPHIC EXPLORATIONS)

1. อัลชะรีฟ อัลอิดรีสีย์ (ค.ศ. 1099-1166) นักประวัติศาสตร์และนักแผนที่ศาสตร์ชาวมุสลิมผู้มีชื่อเสียงโด่งดังได้เขียนในหนังสือที่ลือชื่อของท่าน “นุซฮะตุลมุชตาก ฟี อิคติรอก อัลอาฟาก” (Excursion of the longing one in crossing horizons) ว่า มีนักท่องทะเลหรือชาวเรือกลุ่มหนึ่งที่มาจากแอฟริกาเหนือได้ล่องเรือมุ่งสู่ทะเลที่มือสนิทและปกคลุมด้วยหมอก (Ocean of darkness and fog) –หมายถึงมหาสมุทรแอตแลนติก- พวกเขาได้เริ่มออกเดินทางจากลิสบอน (Lisbon) ประเทศโปรตุเกส เพื่อทำการสำรวจและสืบค้นว่าที่นั่นมีอะไรบ้าง และมีขอบเขตไปสิ้นสุดยังที่ใด ซึ่งในที่สุดพวกเขาก็ได้เดินทางไปถึงยังเกาะ (กลางทะเลลึก) ที่มีประชาชนอาศัยอยู่และมีการเพาะปลูก…ในวันที่สี่ของการเดินทางไปถึงของพวกเขาได้มีล่ามแปลภาษาคนหนึ่งเดินทางไปหาพวกเขาและพูดคุยกับพวกเขาด้วยภาษาอาหรับ (AL-IDRISSI: Nuzhat Al-Mushtaq fi Ikhtiraq Al-Afaaq (Arabic))

2. หนังสืออ้างอิงอิสลามที่น่าเชื่อถือได้กล่าวบรรยายในละเอียดของการเดินทางข้ามทะเลที่มืดสนิทและปกคลุมด้วยเมฆหมอก (ทะเลแอตแลนติก) ของเชคซัยนุดดีน อาลี บิน ฟัฎล์ อัลมะซันดรานีย์ (Shaikh ZAYN EDDINE ALI BEN FADHEL AL-MAZANDARANI) เขาได้เริ่มออกเดินทางจากฎ็อรฟายะฮฺ (Tarfaya) ทางตอนใต้ของโมร็อกโค ในช่วงการปกครองของสุลต่านอบูยะอฺกูบ ยูซุฟ (King Abu-Yacoub Sidi Youssef) (ค.ศ. 1286-1307) สุลต่านที่ 6 แห่งราชวงศ์มะรีนิยะฮฺ (Marinid dynasty) มุ่งสู่เกาะสีเขียว (Green Island) ที่ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน (Caribbean sea) ในปี ค.ศ.1291 (ฮ.ศ.690) รายละเอียดของการเดินทางข้ามมหาสมุทรดังกล่าวมีกล่าวถึงในหนังสืออ้างอิสลาม และบรรดาอุละมาอ์มุสลิมส่วนมากต่างทราบดีถึงการบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของการเดินทางข้ามหาสมุทรในครั้งนี้ (AGHA HAKIM, AL-MIRZA: Riyaadh Al-Ulama(Arabic), Vol.2 P.386/ Vol.4 P.175, AL-AMEEN, SAYED MOHSIN: Aayan Ash-Shia (Arabic), Vol.7 P.158/Vol 8 P.302-3, AL-ASFAHANI, AR-RAGHIB: Addaea Ila Makarim Ash-Shia, Vol.16,P.343)

3. นักประวัติศาสตร์อิสลามชื่อ ชิฮาบุดดีน อบูลอับบาส อะหมัด บิน ฟัฏล์ อัลอุมะรีย์ (CHIHAB AD-DINE ABU-L-ABBAS AHMAD BEN FADHL AL-UMARI) (ค.ศ.1300-1384/ฮ.ศ.700-786) ได้บรรยายในรายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางสำรวจทางภูมิศาสตร์ทางทะเลอันไกลโพ้นที่มืดสนิทและปกคลุมด้วยเมฆหมอก (มหาสมุทรแอตแลนติก) ที่กระทำโดยสุลต่านมาลีในหนังสือที่โด่งดังของท่านที่ชื่อ “มะสาลิก อัลอับศอร ฟี มะมาลิก อัลอัมศอร” (The pathways of sights in the provinces of kingdoms) (CAUVET, GILES: Les Berbers de L’Amerique, Paris 1912, P.100-101)

4. สุลต่านมันซา คันคัน มูซา (MANSA KANKAN MUSA) (ค.ศ.1312-1337) กษัตริย์มันดินกาที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกแห่งอาณาจักรอิสลามมาลีในแอฟริกาเหนือ เมื่อครั้งที่เขาได้เดินทางไปยังมักกะฮฺเพื่อไปทำพิธีหัจญ์ที่ลือชื่อของเขาในปี ค.ศ.1324 เขาได้แจ้งให้บรรดาอุละมาอ์ประจำราชสำนักของสุลต่านมะมาลีกบะหฺรียะฮฺ อันนาศิร นาศิรุดดีน มุหัมมัดที่ 3 (An-Nasir Nasir Edin Muhammad III) (ค.ศ.1309-1340) ณ กรุงไคโรว่า พี่ชายของเขา สุลต่านอบูบะการี ที่ 1 (Sultan Abu Bakari I) (ค.ศ.1285-1312) ได้นำกองกำลังออกเดินทางผจญภัยไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ถึงสองครั้ง ในเมื่อสุลต่านไม่เดินทางกลับไปยังติมบักตู (Timbuktu) ในการเดินทางผจญภัยครั้งที่สองในปี ค.ศ.1311 ดังนั้น มันซา มูซา จึงขึ้นดำรงตำแหน่งสุลต่านปกครองอาณาจักรแทนพี่ชาย (HUYGHE, PATRICK: Columbus was Last, New York 1992)

5. โคลัมบัส นักสำรวจชาวสเปนและชาวโปรตุเกสรุ่นแรกไม่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่เป็นระยะทางไกลเกิน 2400 กิโลเมตร นอกจากด้วยความช่วยเหลือด้านข้อมูลจากนักภูมิศาสตร์และนักเดินเรือชาวมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลจากแผนที่ที่สร้างโดยพ่อค้าวาณิชย์ชาวมุสลิม ซึ่งรวมถึงแผนที่ของอัลมุสอูดีด้วย (ค.ศ.871-957) ที่ได้เขียนไว้ในหนังสือ “อัคบาร อัซซะมาน” (Akhbar az-zaman) ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาสาระจากแอฟริกาและเอเชีย (AL-MASUDI: Muruj Adh-Dhahab (Arabic), Vol. 1, P. 138)

และข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งคือ โคลัมบัสจะมีกัปตันเรือชาวมุสลิมดั้งเดิมสองคนระหว่างการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกครั้งแรกของเขาด้วย มุสลิมดั้งเดิมทั้งสองคือ

– มาร์ติน อาโลนโซ พินสัน (Martin Alonso Pinzon) ซึ่งเป็นกัปตันเรือพินตา (PINTA)

– และน้องชายของเขา ไวเซนเต ยานีซ พินสัน (Vicente Yanez Pinzon) ซึ่งเป็นกัปตันเรือนีนา (NINA)

ทั้งสองเป็นคนที่ร่ำรวยและมั่งคั่งด้วยทรัพย์สิน เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางเรือกำปั่น และมีประสบการณ์ทางทะเล ทั้งสองได้เดินทางมาพร้อมกับบรรดาผู้จัดเตรียมความพร้อมของเรือเพื่อเข้าร่วมกลุ่มกับคณะของโคลัมบัสและช่วยซ่อมแซมธงเรือโคลัมบัสที่มีชื่อว่า เซนต์มาเรีย (SANTA MARIA) เขาทั้งสองได้ให้ความช่วยเหลือโคลัมบัสด้วยทรัพย์สินส่วนตัวด้วยเหตุผลทางทางการค้าและการเมืองของทั้งสอง

ครอบครัวพินสัน (PINZON) นี้ มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับอบูซัยยาน มุหัมมัดที่ 3 (ABUZAYAN MUHAMMAD III) (ปกครองระหว่างปี ค.ศ.1362-1366) ซึ่งเป็นสุลต่านแห่งราชวงศ์มารีนีด (มะรีนิยฮฺ) (Marinid dynasty) แห่งโมร็อกโค (มีอำนาจปกครองระหว่างปี ค.ศ.1196-1465) (OBREGON, MAURICIO: The Columbus Papers, The Barcelona Letter of 1493, The Landfall Controversy, and the Indian Guides, McMillan Co., New York 1991)

ศิลาจารึกและโบราณวัตถุอาหรับ (อิสลาม) (ARABIC -ISLAMIC- INSCRIPTIONS)

1. นักมานุษยวิทยา (Anthropologists) ได้ค้นพบว่าชาวมันดินกา (Mandinkos) ที่อาศัยอยู่ภายใต้การศึกษาของสุลต่านมันซา มูซา (Mansa Musa) นั้น จากการสำรวจปรากฏว่า บริเวณทางตอนเหนือของอเมริกาตามเส้นทางมิสซิสซิปปี (Mississippi), ตามเส้นทางแม่น้ำอื่นๆ และบริเวณโฟรคอร์เนอร์ (Four Corners) อริโซนา (Arizona) มีงานเขียนที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาได้นำช้างจากแอฟริกามายังเขตดังกล่าว (WILKINS,H.T.: Mysteries of Ancient South America, New York 1974, WINTERS, CLYDE AHMAD: Islam in Early North and South America, Al-Ittihad, July 1977,P.60)

2. โคลัมบัสได้สารภาพในหนังสือของเขาว่า “ในวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม ค.ศ.1492 ในขณะที่เรือใบของเขาได้ล่องไปยังเขตที่ใกล้กับกีบารา (Gibara) –อาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า (جبل) ที่แปลว่าภูเขา – ซึ่งตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของคิวบา เขาได้พบเห็นมัสยิดตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขาที่สวยงาม

ซากปรักหักพังของมัสยิดต่างๆ และหออาซาน รวมทั้งข้อความจารึกของอัลกุรอานได้ถูกค้นพบที่คิวบา (Cuba) แม็กซิโก (Mexico) เทกซัส (Texas) และเนวาดา (Nevada) (OBREGON , MAURICIO: The Columbus Papers, The Barcelona Letter of 1493, The Landfall)

3. ในช่วงการเดินทางไกลครั้งที่ 2 ของโคลัมบัส ชาวอินเดียนแดงแห่งเมืองอิสปาโนลา (ESPANOLA -Haiti) ได้แจ้งให้เขาทราบว่า “ชนผิวดำได้เดินทางมาถึงมาถึงเกาะก่อนการเดินทางมาถึงของเขาเสียอีก” และเพื่อเป็นการยืนยันและพิสูจน์ในสิ่งดังกล่าว พวกเขาได้นำหอกหรือทวนของชาวมุสลิมแอฟริกามาแสดงต่อหน้าโคลัมบัส ที่ปลายหรือยอดของอาวุธเหล่านั้นถูกห่อหุ้มด้วยโลหะสีเหลือง ชาวอินเดียนแดงเรียกมันว่า “กัวนิน” (GUANIN) ซึ่งเป็นรากศัพท์ที่มาจากแอฟริกาตะวันตก ที่หมายถึง “ทองผสมโลหะ” (gold alloy) ไม่เพียงเท่านั้น คำว่า “กัวนิน” นี้ยังมีความเกี่ยวพันธ์กับคำในภาษาอาหรับ นั่นคือ “ฆีนาอ์” غناء (GHINAA) ที่หมายถึง “มั่งคั่งและร่ำรวย” (WEALTH)

โคลัมบัสได้นำเอาชิ้นส่วนของวัตถุ “กัวนิน” จำนวนหนึ่งกลับไปยังสเปน และทำการตรวจสอบพิสูจน์ เขาได้พบว่า วัตถุกัวนินดังกล่าวประกอบด้วย ทองคำ (gold) 18 ส่วน (56.25%), เงิน (silver) 6 ส่วน (18.75%) และทองแดง (copper) 8 ส่วน (25%) ซึ่งเป็นอัตราส่วนเดียวกันกับโลหะวัตถุที่ผลิตในแอฟริกาและวางขายตามร้านค้าโลหะวัตถุในคีเนีย (Guinea) (THACHER, JOHN BOYD: Christopher Columbus, New York 1950, P.380)

4. ในปี ค.ศ.1498 ในช่วงการเดินทางไกลครั้งที่ 3 ของโคลัมบัส สู่แผ่นดินแห่งใหม่ (new world) เขาได้ลงทอดเทียบยังเขตทรินิเดด (Trinidad) หลังจากนั้นเขาได้สังเกตเห็นพื้นแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ ดังนั้น ลูกเรือติดอาวุธของเขากลุ่มหนึ่งจึงได้เดินทางข้ามฝั่งไปยัง ณ ที่นั้น และพบว่าสตรีพื้นเมืองที่นั่นแต่งกายด้วยผ้าพันศีรษะที่มีสีสรรและมีเสน่ห์ ซึ่งเป็นผ้าที่ถักทอมาจากผ้าฝ้าย

โคลัมบัสได้ให้ข้อสังเกตว่า ผ้าคลุมหัวดังกล่าว สีสรรของมันมีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกับผ้าคลุมและผ้านุ่งที่ชาวคีเนีย (Guinea) สวมใส่อยู่ เช่นเดียวกับรูปแบบ (style) และจุดมุ่งหมาย (function) ของการสวมใส่ เขาได้เรียกสิ่งนั้นว่า “อัลเมซาร” (ALMAYZARS) อัลเมซารนี้เป็นคำภาษาอาหรับ (المئزر) ที่แปลว่า “ผ้าที่ใช้ห่อหุ้ม หรือพันรอบ (wrapper), ผ้าครอบ หรือปิดคลุม (cover), ผ้าคลุมภายนอก (apron), และ/หรือกระโปรงยาว (skirting)” อันเป็นเสื้อผ้าที่ชาวแขกมัวร์ (Moor) (ชาวมุสลิมสเปนหรือแอฟริกาเหนือ) สวมใส่ ซึ่งได้นำเข้ามาจากแอฟริกาตะวันตก คีเนีย (Guinea) และส่งไปยังโมร็อกโค สเปน และโปรตุเกส

ในช่วงการเดินทางไกลในครั้งนี้ โคลัมบัสต้องประหลาดใจ (surprise) กับการสวมใส่กางเกงขาสั้น (ชั้นในสตรี) ที่ทำมาจากผ้าฝ้าย (bragas) ของบรรดาสตรีพื้นเมืองที่แต่งงานแล้ว และเกิดความฉงนสนเท่ห์ว่าบรรดาสตรีชนพื้นเมืองเหล่านั้นได้เรียนรู้วิธีการสวมใส่ที่เรียบง่ายดังกล่าวมาจากไหน

เฮอร์นาน คอร์เตส์ (Hernan Cortes) ผู้พิชิตแห่งสเปน ได้พรรณนาถึงเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สตรีชาวอินเดียนแดงสวมใส่ว่า “คล้ายกับผ้าคลุมหน้า (หิญาบ) ที่ยาวทอดลงมา (long veils) ส่วนเสื้อผ้าอาภรณ์ของบุรุษชาวอินเดียนแดงก็คล้ายกับผ้านุ่งที่พับคาดเอวสีเทาตามสไตล์หรือรูปแบบการสวมใส่ของแขกมัวร์ (Moorish draperies)”

เฟอร์ดินันด์ โคลัมบัส (Ferdinand Columbus) เรียกเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ชนพื้นเมืองว่า “ผ้านุ่งหรือผ้าคาดเอวแบบเดียวกัน ส่วนเสื้อผ้าที่สวมใส่คล้ายกับเสื้อขนสัตว์หรือเสื้อหนาสำหรับคลุมไหล่และหัว (shawls worn) ที่สตรีแขกมัวร์แห่งฆ็อรนาเฏาะฮฺ (Granada) สวมใส่ แม้กระทั่งลักษณะความแตกต่างของเปลญวนเด็กที่พบในแอฟริกาเหนือก็มีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกันอย่างน่าอัศจรรย์ใจยิ่ง (COLUMBUS, FERDINAND: The Life of Admiral Christopher Columbus, Rutgers Univ. Press, 1959, P.232)

5. ดร.แบร์รี เฟ็ล (Barry Fell) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Harvard University) ได้เกริ่นนำในหนังสือของเขา “นิยายของอเมริกา” (Saga America) ที่พิมพ์ในปี 1980 ว่า “มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดแจ้งที่ยืนยันถึงการไปถึงทวีปอเมริกาของชาวมุสลิมจากแอฟริกาเหนือและตะวันตกก่อนการไปถึงของโคลัมบัส

จากการสำรวจของ ดร.เฟ็ล พบว่า มีโรงเรียนของชาวมุสลิมตั้งอยู่ที่เมืองวัลเล่ย์ ออฟ ไฟร์ (Valley of Fire), อัลลาน สปริง (Allan Springs), โลโกมัรซีโน (Logomarsino), คีโฮล (Keyhole), แคนยอน (Canyon), เวโช่ว์ (Washoe) และฮิกกิสันซัมมิตพาส (Hickison Summit Pass) ในรัฐเนวาดา (Nevada), มีซา เวรเด (Mesa Verde) ในรัฐโคโลราโด (Colorado), มิมเบรสวัลเล่ย์ (Mimbres Valley) ในรัฐนิวแม็กซิโก (New Mexico) และทิปเปอร์เคโน (Tipper Canoe) ในรัฐอินเดียนา (Indiana) ซึ่งมีประวัติย้อนหลังไปยังปี ค.ศ.700-800

มีการค้นพบแบบตัวหนังสือที่แกะสลักบนหินในเขตร้อนแห้งทางฝั่งตะวันตกของอเมริกา, ภาพแสดงการอธิบายบทเรียน และแผนภูมิต่างๆ อันเป็นหลักฐานที่คงเหลืออยู่ในรูปของเศษปรักหักพังที่ไม่สมบูรณ์อันเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ครั้งหนึ่งในอดีตที่ผ่านมาเขตดังกล่าวเคยมีระบบโรงเรียนหรือการเรียนการสอนที่คล้ายกับระบบการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานหรือชั้นประถม (elementary) และในระดับสูงหรือชั้นมัธยม(higher level) ภาษาที่ใช้ในการศึกษาเป็นภาษาอาหรับแถบแอฟริกาเหนือซึ่งแกะสลักด้วยแบบตัวเขียนกูฟีเก่า (old Kufic Arabic scripts)

สาขาวิชาที่มีการแกะสลักดังกล่าวประกอบด้วย วิชาการเขียน (writing), วิชาการอ่าน (reading), วิชาเลขคณิต (arithmetic), วิชาการศาสนา (religion), วิชาประวัติศาสตร์ (history), วิชาภูมิศาสตร์ (geography), วิชาคณิตศาสตร์ (mathematics), วิชาดาราศาสตร์ (astronomy), และวิชาการเดินทะเล (sea navigation)

ทายาทผู้สืบสกุลของบรรดานักท่องเที่ยวชาวมุสลิมในอเมริกาเหนือที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันได้แก่ตระกูลอีโรกุยส์ (Iroquois), อัลกอนควีน (Algonquin), อนาซาซี (Anasazi), โฮโฮกัม (Hohokam) และชนพื้นเมืองโอลเม็ก (Olmec)…(FELL, BARRY: Saga America, New York 1980, GORDON,CYRUS: Before Columbus, New York 1971)

6. มีชื่อสถานที่ต่างๆที่สืบทอดมาจากอิสลามและรากฐานของภาษาอาหรับจำนวน 565 แห่ง ทั้งที่เป็นชื่อหมู่บ้าน, เมือง, นคร, ภูเขา, ทะเลสาบ, แม่น้ำ ฯลฯ) ในสหรัฐอเมริกามีจำนวน 484 แห่ง และในแคนาดามีจำนวน 81 แห่ง ซึ่งทั้งหมดล้วนมีต้นกำเนิดมาจากรากศัพท์ภาษาอาหรับ

ยังมีสถานที่ที่ยังคงชื่อเดิมอยู่ซึ่งตั้งโดยชนพื้นเมืองเดิม (ชาวอินเดียนแดง) ก่อนสมัยการเดินทางไปถึงของโคลัมบัส ส่วนหนึ่งของบรรดาชื่อสถานที่และอื่นๆที่มีความหมายอันทรงเกียรติ ได้แก่ เม็กกะ (Mecca) مكة ในรัฐอินเดียนา (Indiana) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 720 คน, ชนเผ่าอินเดียนแดงเม็กกะฮฺ (Makkah Indian tribe) ในรัฐวอชิงตัน (Washington), เมดินา (Medina) المدينة ในรัฐไอดาโฮ (Idaho) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 2100 คน, เมดินา (Medina) ในรัฐนิวยอร์ก (New York City) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 8500 คน, เมดินา (Medina) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 1100 คน, ฮาซีน (Hazen) حزين ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 5000 ซึ่งทั้งสองตั้งอยู่ในนอร์ทดาโกตา (North Dakota), เมดินา (Medina) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 17000 คน และเมดินา (Medina) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 120000 คน ซึ่งทั้งสองตั้งอยู่ในรัฐโอไฮโอ (Ohio), เมดินา (Medina) ในรัฐเท็นนีสซี (Tennessee) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 1100 คน, เมดินา (Medina) ในรัฐเท็กซัส (Texas) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 26000 คน, เมดินา (Medina) ในรัฐโอนตาริโอ (Ontario) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 1200 คน, มาโฮเมต (Mahomet) محمد ในรัฐอิลลีโนอีส (Illinois) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 3200 คน, โมนา (Mona) منى ในรัฐอูตาห์ (Utah) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 1000 คน, อัรฟา (Arva) عرفة ในรัฐโอนตาริโอ (Ontario) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 700 คน…ฯลฯ

จากการศึกษาอย่างละเอียด รอบคอบ ประณีต และถี่ถ้วน พบว่าบรรดาชื่อของหมู่บ้านของชนพื้นเมืองดั้งเดิมชาวอินเดียงแดงปรากฏว่ามีชื่อหมู่บ้านจำนวนมากมายที่มีต้นตอหรือแหล่งกำเนิดจากรากศัพท์ภาษาอาหรับและอิสลาม อาทิเช่น

อนาซาซี (Anasazi) –น่าจะมาจากคำว่า النسائي -,

อปาชี (Apache) –น่าจะมาจากคำว่า أفشي-,

อราวัก (Arawak) –น่าจะมาจากคำว่า -الرواق,

อรีกานา (Arikana) –น่าจะมาจากคำว่า -أركان,

ชาฟิน (Chavin) –น่าจะมาจากคำว่า شافين -,

ชีโรกี (Cherokee) –น่าจะมาจากคำว่า شراكة -,

ครี (Cree) น่าจะมาจากคำว่า كرِّ -,

โฮโฮกัม (Hohokam) –น่าจะมาจากคำว่า حكام -,

ฮูปา (Hupa) –น่าจะมาจากคำว่า حبَّ -,

ฮูปี (Hopi) –น่าจะมาจากคำว่า حبِّ -,

มักกะฮฺ (Makkah) –มาจากคำว่า مكة,

มาฮีกัน (Mahigan) –น่าจะมาจากคำว่า محقا หรือ محقان -,

โมเฮาวัก (Mohawk) –น่าจะมาจากคำว่า محوق -,

นัซคา (Nazca) –น่าจะมาจากคำว่า نسخة -,

ซูลู (Zulu) –น่าจะมาจากคำว่า ذلُّ -,

ซูนี (Zuni) -น่าจะมาจากคำว่า سُنِّي…ฯลฯ

วัลลอฮุอะลัม

เอกสารอ้างอิง:
1. AGHA HAKIM, AL-MIRZA Riyaadh Al-Ulama(Arabic),Vol.2 P.386/Vol.4 P.175

2. AL-AMEEN, SAYED MOHSIN Aayan Ash-Shia(Arabic),Vol.7 P.158/Vol 8 P.302-3

3. AL-IDRISSI Nuzhat Al-Mushtaq fi Ikhtiraq Al-Afaaq(Arabic)

4. AL-MASUDI Muruj Adh-Dhahab (Arabic), Vol. 1, P. 138

5. AL-ASFAHANI, AR-RAGHIB Adharea Ila Makarim Ash-Shia,Vol.16,P.343

6. CAUVET, GILES Les Berbers de L’Amerique,Paris 1912,P.100-101

7. Ferdinand Columbus “The Life of Admiral Christopher Columbus”, Rutgers Univ.Press, 1959, P.232

8. Nigel Davies, “Voyagers to the New World”, New York 1979

9. ON MANUEL OSUNAY SAVINON Resumen de la Geografia Fisica…,Santa Cruz de Tenerife, 1844

10. Barry Fell “Saga America”, New York 1980

11. Barry Fell, “America B.C.”, New York 1976

12. Cyrus Herzl Gordon, “Before Columbus; Links Between the Old World and Ancient America”, New York 1971

13. Donald Gyr, Exploring Rock Art,Santa Barbara 1989

14. Patrick Huyghe “Columbus Was Last/from 200,000 B.C. to 1492, a Heretical History of Who Was First”, New York 1992

15. Mauricio Obregon, “The Columbus Papers,The Barcelona Letter of 1493, The Landfall Controversy, and the Indian Guides”, McMillan Co.,New York 1991

16. John B. Thacher, “Christopher Columbus”, New York 1950,P.380

17. Ivan Van Sertima, “African Presence in Early America”, New Brunswick, NJ 1987

18. Ivan Van Sertima, “They Came Before Columbus”, New York 1976

19. Von Wuthenau, Alex, “Unexpected Facts in Ancient America”, New York 1975

20. Leo Wiener, “Africa and the Discovery of America”, Philadelphia, 1920,Vol.2 P.365-6

21. Harold T. Wilkins, “Mysteries of Ancient South America”, New York 1974

22. Clyde-Ahmad Winters, “Islam in Early North and South America”, Al-Ittihad, July 1977,P.60

***ที่มา: Pre Columbian Muslims in the Americas, By: Dr. Youssef Mroueh (http://www.mediamonitors.net/youssefmroueh1.html

ดาบแห่งอัลเลาะห์ อะคาเดมี่