ดุอาอฺคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ และสัญลักษณ์ของอัลก็อดรฺ

ADMIN


บทขอพร(ดุอา)ในคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ และสัญลักษณ์ของอัลก็อดรฺ

รายงานจากท่านหญิงอาอีซะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา
กล่าวว่า : โอ้ท่านร่อซูล ! หากฉันรู้ถึง คืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ ฉันจะกล่าวอะไรในคืนนั้น ?

ท่านร่อซูล ซ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม
กล่าวว่า เธอจงกล่าวว่า :

اَللَّهُمَّ إِنَّكَ عَفُوّ ٌتُحِبُّ الْعَفْوَفَاعْفُ عَنِّيْ

 คำอ่าน :อัลลอฮุมม่า อินนะก้า อะฟูวุน ตุหิบบุลอัฟว่า ฟะอฺฟุ อันนี

(หะ ดีษอัตติรมีซีย์หมายเลข/3580:ฮะซันเศาะเฮี๊ยะห์และอันนะซาอีย์ในอะมัลวัล -ลัยละห์ หมายเลข/872 และอะห์มัดในมุสนัดของท่าน 6/171, 182 และอิบนุมาญะห์ หมายเลข/3850 และ อัล-ฮากิม 1/350))

เพราะว่าเราไม่รู้ว่าเป็นคืนไหน ก็กล่าว 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฏอน

ท่านนบีได้กล่าวว่า โอกาสที่เป็นไปได้มากที่สุดคือสิบวันสุดท้าย ดังนั้นให้เรากล่าวดุอาอ และทำอิบาดะฮฺ มากๆในช่วงนี้


ความหมายของค่ำคืนอัลก็อดรฺ

ค่ำคืนอัลก็อดรฺเป็นค่ำคืนหนึ่งของเดือนรอมฏอนอัล-มุบาร๊อก ที่อัลลอฮได้ให้ชื่อว่า”ค่ำคืนอัลก็อดรฺ” เนื่องจากในค่ำคืนนั้นมีเกียรติและความประเสริฐต่างๆ ดังนี้

– เป็นค่ำคืนอัลกุรอานถูกประทานลงมา

– เป็นค่ำคืนที่ญิบรีลและบรรดามะลาอีกะฮฺลงมา (ยังโลกดุนยา)

– เป็นค่ำคืนที่ความบะรอกะฮ์/ความปลอดภัยและการอภัยโทษถูกประทานลงมา

อัลลอฮฺทรงตรัสว่า …

((لَيْلَةُ الْقَدْرِ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ))

“(การประกอบอิบาดะฮ์ในค่ำคืน) อัลก็อดรฺดีกว่า (การประกอบอิบาดะห์) หนึ่งพันเดือน (ในค่ำคืนอื่นจากค่ำคืนอัลก็อดรฺ)” (ซูเราะห์อัลกอดัร อายะห์ที่ 3)

ท่านรสูล กล่าวว่า

((ومن قام ليلة القدر إيماناً واحتساباً ، غفر له ما تقدم من ذنبه))

” และผู้ใดที่ดำรงไว้ (อิบาดะห์) ในค่ำคืนอัลก็อดรฺด้วยความศรัทธาต่ออัลลอฮฺและหวังในความโปรดปรานและผลตอบ แทนจากพระองค์ผู้เดียวเท่านั้น แท้จริงเขาจะได้รับการอภัยโทษจากบาปทั้งหลายที่ผ่านมา” (มุตตะฟะกุนอะลัยห์ : เศาะเฮี๊ยะห์ อัลบุคอรี 2/253 และเศาะเฮี๊ยะห์มุสลิมเลขที่ 760 (1/524))

จากอบี ฮุรอยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮุอินฮุ แท้จริงท่านรอซูลกล่าวถึงเกี่ยวกับค่ำคืน อัลก็อดรฺว่า

” แท้จริงมันเป็นคืนที่ยี่สิบเจ็ด หรือยี่สิบเก้า (ของรอมฏอน) แท้จริงแล้วบรรดามะลาอิกะห์ในค่ำคืนนั้น (ลงมายัง) พื้นโลกมากกว่าจำนวนเม็ดทราย”

(หะดีษอิหม่ามอะห์มัด อัลบัซซาร์ และอัต-เตาะบะรอนีย์ในอัล-เอาซาต และริญาลุน ศิก็อต : มัจญ์มูอ์ อัซ-ซะวาอิด 3/176)

ท่านอิหม่ามอันนะวะวีย์กล่าวว่า

” ค่ำคืนอัลก็อดรฺเป็นค่ำคืนที่ประเสริฐที่สุดในรอบปี ผู้ใดที่ประกอบอิบาดะห์ (กิยามุลลัยล์) ในค่ำคืนอัลก็อดรฺ แม้ว่าเขาจะไม่ได้รับเตาฟีกในการมองเห็นสัญญาลักษณ์ของค่ำคืนอัลก็อดรฺก็ตาม แท้จริงแล้วเขาจะได้รับผลตอบแทนด้วยผลตอบแทนดังกล่าว


สัญลักษณ์ของค่ำคืนอัลก็อดรฺ

สัญลักษณ์ของคืนอัลก็อดรฺมีมากมายส่วนหนึ่งได้แก่……

 – ลักษณะของค่ำคืน “ค่ำคืนอัลเกาะดัร” มีบรรยากาศที่สดใสบริสุทธิ์ เสมือนว่าในค่ำคืนนั้นมีแสงจันทร์ส่องแสง (แสงจากดวงดาวระยิบระยับสะอาดสดใส…) เป็นคืนที่เงียบสงบบรรยากาศไม่ร้อนและไม่หนาว(รายงานโดยอิบนุ อันบาส ในเศาะเฮี๊ยะห์ อิบนุคุซัยมะห์ 3/332 อิบาดัต บิน ศอมิต และญาบิร บิน ซัมเราะห์ ออกโดยอะห์มัด : มัจญ์มูอ์ อัซ-ซะวาอิด 3/175)

– ลักษณะของคืน “อัลก็อดรฺ” จะมีฝนตกและลมพัด (รายงานโดยญาบิร บิน ซัมเราะห์ ออกโดยอะห์มัด มัจญ์มูอ์ อัซ-ซะวาอิด 3/175)

– ต้นไม้ในค่ำคืนอัลก็อดรฺจะโน้มลงสู่พื้นดิน และคืนสู่สภาพเดิม ทุกสิ่งก็จะก้มกราบ (อัตตอบะรีย์(6) ดู : ฟัตฮุลบารีย์ 4/260)

– แสงอาทิตย์ตอนเช้าของคืนนั้นจะไม่เจิดจ้า (ครึม) เสมือนกับดวงจันทร์ในค่ำแรก (ลักษณะจะมีสีแดงอ่อน) 

หะดีษต่าง ๆ มีดังนี้

หะ ดีษ ซิรริ บิน ฮุบัยร์ ท่านกล่าวว่า ฉันได้ถามอุบัย บิน กะอับ เราะฏิยัลลอฮุอันฮุว่า 

แท้จริงพี่น้องของท่านอิบนุ มัสอูดกล่าวว่า ผู้ใดที่กิยามุลลัยเป็นเวลาครบหนึ่งปี แน่นอนเขาจะพบกับค่ำคืนอัลก็อดรฺ อุบัยจึงตอบว่าอัลลอฮทรงให้ความโปรดปรานแก่ อบา มัสอูด ท่านต้องการให้มนุษย์นั้นไม่เพลิดเพลินและให้มีความคาดหวังมาก ๆ แท้จริงแล้วท่านได้ทราบว่าคืนอัลก็อดรฺนั้นเกิดขึ้นในเดือนรอมฏอน (เท่านั้น) แน่แท้จะอยู่ในสิบคืนสุดท้าย และแท้จริง (คืนนั้น) อยู่ในคืนที่ยี่สิบเจ็ด จากนั้นอุบัยกล่าวปฎิญาณว่า ไม่เป็นการยกเว้นอีก แท้จริงแล้ว คืนอัลก็อดรฺเป็นคืนที่ยี่สิบเจ็ดเท่านั้น ฉันถามต่อไปว่า ท่านมั่นใจอย่างไรกับสิ่งเหล่านั้นโอ้ อบัล มุนซิร? ท่านตอบว่า ด้วยสัญญาลักษณ์!! ที่ท่านรอซูลได้เล่าให้เราทราบนั่นคือ…แท้จริงดวงอาทิตย์ขึ้นมาในเช้าของคืน วันนั้นไม่มีแสงเจิดจ้า

(หะดีษเศาะเฮี๊ยะห์มุสลิม 2/828 และเศาะเฮี๊ยะห์ อิบนุ คุซัยมะห์ หมายเลข/2193)

จากท่านอิบนุ อับบาส จากท่านรอซูล เกี่ยวกับคืนอัลก็อดรฺ ความว่า “เป็นคืนหนึ่งที่มีบรรยากาศที่ดี ไม่ร้อนและไม่หนาว ดวงอาทิตย์ในตอนเช้ามีสีแดงอ่อน”

จากอบี อักร๊อบ อัล-อะซะดีย์ กล่าวว่า ในเช้าวันหนึ่งของเดือนรอมฏอนฉันได้เยือนบ้านของอับดุลเลาะ บิน มัสอูด ขณะที่ท่านกำลังอยู่บนดาดฟ้า ฉันได้ยินท่านกล่าวว่า “เศาะดะกอลลอฮุวะรอซูลุฮ” (หมายถึง คำดำรัสของอัลลอฮและคำกล่าวของท่านรอซูลนั้นย่อมเป็นสัจจะ) และในระยะงานอื่นมีว่า “เศาะดะกอลลอฮุ วะบัลละฆอรอซูลุฮ” (หมายถึง คำดำรัสของอัลลอฮย่อมเป็นสัจจะและท่านรอซูลได้เผยแผ่สัจธรรมแด่พวกเรา)

จากนั้นฉันขึ้นไปหาท่านและถามว่า โอ้! อบู อับดุลเราะมาน ที่ท่านกล่าวว่า เศาะดะกอลลอฮุวะรอซูลนั้นมีความหมายอย่างไร ท่านจึงตอบว่า แท้จริงแล้วท่านรอซูลได้เล่าให้เราทราบว่า แท้จริงคืนอัลก็อดรฺนั้น (เกิดขึ้น) ในส่วนหนึ่งจากเจ็ดคืนสุดท้ายรอมฏอน และแท้จริงแล้ว ดวงอาทิตย์ของเช้าวันรุ่งขึ้นจะไม่เจิดจ้า (ครึม) ท่านอบี อักร็อบกล่าวว่า ฉันจึงขึ้นไปบนดาดฟ้าและมองดูดวงอาทิตย์ (ฉันเห็นจริงตามที่เขาได้บอกมา) ดังนั้น ฉันก็กล่าวเหมือนท่านว่า “เศาะดะกอลลอฮุวะรอซูลฮ์ เศาะดะกอลลอฮุวะรอซูลุฮ์

(หะดีษมุสนัด อิหม่าม อะห์มัด หมายเลข/3857, 4374 ทั้งสองอัสนาดนั้นเศาะเฮี๊ยะ : มัจญ์มูอ อัซ-ซะวาอิด 3/174)

การที่ไม่ระบุชัดว่าอัลเกาะดัรอยู่ในค่ำคืนไหนนั้น คงจะเป็นวิทยปัญญาเพื่อมิให้มวลมนุษย์ละเลยจากการประกอบอิบาดะห์ในค่ำคืน อื่น ๆ ของเดือนรอมฏอนอันเป็นค่ำคืนที่เปี่ยมล้นไปด้วยความประเสริฐ ด้วยเหตุนี้ ครั้งหนึ่งขณะที่อับดุลเลาะ บิน อุนัยร์ได้ถามท่านรอซูลเกี่ยวกับคืนที่ชัดเจนของค่ำคืนอัลก็อดรฺ ท่านรอซูลจึงตอบว่า ความว่า “หากมิใช่เพราะฉันเป็นห่วงว่ามนุษย์จะละเลยการละหมาดในค่ำคืนเดือนรอมฏอน ยกเว้นในคืนนั้นคืนเดียวเท่านั้น แน่แท้ฉันจะบอกค่ำคืนอัลก็อดรฺแก่ท่าน”

ที่มา : Iqraonline.org  

คำศัพท์ที่ควรรู้ 

 عبادة – อิบาดะฮฺ มาจากรากศัพท์ว่า “อับดุน” (บ่าวทาส) หมายถึงการยอมทำตามเพื่อความพึงพอใจของผู้เป็นนายมีผู้แปลเป็นภาษาไทยว่า “การแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า” อิ บาดะฮฺในทางศาสนามีความหมายกว้างขวางมาก สรุปได้ว่าการทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้พระเจ้าโปรดปรานและอยู่ในครรลองของพระองค์ จัดได้ว่าเป็นอิบาดะฮฺทั้งสิ้น เช่น การละหมาด การบริจาคช่วยเหลือ การต่อสู้ของนักรบชาวอัฟกานิสถาน การสอนหลักธรรมแก่ผู้อื่น สรุปได้ว่าอิบาดะฮฺมีทั้งที่เป็นรูปแบบและไม่เป็นรูปแบบแต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะต้องทำความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง

 حديث – หะดีษ คือ คำพูดหรือโอวาทของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด   เหล่า สาวกของท่านที่ได้ยิน หรือได้ประสบก็จะถ่ายทอดกันต่อๆ ไปจากคนหนึ่งเล่าต่อไปยังอีกคนหนึ่งจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งเป็น สายรายงานที่สืบเนื่องไปจนกระทั่งมีนักปราชญ์ทางศาสนาทำการบันทึกรวบรวมและกลั่นกรองเอาแต่หะดีษ
ที่ถูกต้องมาใช้เป็นบรรทัดฐานในทางกฎหมาย เช่น การบันทึกของอิมามบุคอรีย์ อิมามมุสลิม หรืออิมามอะหมัดเป็นต้น

 ملائكة – มลาอิกะฮฺ คือสิ่งถูกสร้างประเภทหนึ่งที่บังเกิดขึ้นจากรัศมีมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าอย่างเคร่งครัด มลาอิกะฮฺปราศจากความรู้สึกนึกคิดฝ่ายเนื้อหนัง ปราศจากความโลภโกรธและหลง มลาอิกะฮฺไม่ฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้ามลาอิกะฮฺ ถูกสร้างขึ้นมาในรูปลักษณ์ต่างๆ กัน และมีอำนาจแตกต่างกัน เช่นญิบรีล (ฝรั่ง เรียกว่า เกเบรียล) ทำหน้าที่นำโองการของพระเจ้ามายังศาสนทูตของพระองค์

http://www.annisaa.com/forum/index.php?topic=752.0