การอาเจียร ทำให้เสียศีลอดหรือไม่?

ADMIN

สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด

การถือศีลอดนั้นจะเสียด้วยกับทุกสิ่งที่ทำให้หลักการในการถือศีลอด และเงื่อนไขต่าง ๆ ต้องบกพร่องไป เช่นตกศาสนา เป็นบ้า เกิดมีเลือดประจำเดือน หรือเลือดหลังจากการคลอดบุตร การร่วมเพศ การจงใจกิน ดื่ม และอาเจียร โดยเราพอเพียงที่จะพูดในที่บ่งถึงสิ่งที่สำคัญ ๆ ที่ทำให้เสียศีลอด โดยที่บรรดานักวิชาการด้านนิติศาสตร์อิสลามได้มีความเห็นขัดแย้งกัน ในเรื่องอาเจียรโดยเจตนา เกิดการป่วย และเดินทาง

เจตนาอาเจียร

คำว่า “อัลก็อยอ์” แปลว่าอาเจียร ตามหลักภาษา และหลักวิชาการ

คำ ว่า “อัลก็อยอ์” ตามหลักภาษา เป็นอาการนามของคำว่า ( قَاءَ ) มีคำกล่าวว่า قَاءَ الرَّجُلُ مَا اَكَلَهُ قَيْئًا มีความหมายว่า ชายคนนั้นได้อาเจียรสิ่งที่เขากินเข้าไปออกมาจริง ๆ ซึ่งคำว่า قَاءَ อยู่ในตราชั่ง بَاعَ ต่อจากนั้นก็เอามาใช้กับอาการนามที่เกี่ยวกับอาหารที่ถูกให้เอาออกมา คำว่า تَقَيَّأَ มีความหมายว่า บังคับให้อาเจียรออกมา

คำว่า “อัลก็อยอ์” ตามหลักวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม คือ สิ่งที่ออกจากอาหารหลังจากที่มันมั่นคงอยู่ในกระเพาะแล้ว

ข้อชี้ขาดการถือศีลอดของผู้ที่อาเจียรออกมา

ไม่ มีข้อขัดแย้งกันในหมู่นักนิติศาสตร์อิสลามส่วนใหญ่ ว่า ผู้ถือศีลอดนั้น เมื่อเขาอาเจียรออกมา การถือศีลอดของเขาก็ไม่เสีย ไม่ว่าจะอาเจียรออกมามากหรือน้อยก็ตาม ทั้งนี้โดยอ้างหลักฐานจากฮะดีษที่รายงานโดยอะบูหุร็อยเราะห์ – ที่นำเสนอโดยอิบนุ ฮิบบาน และอัตติรมิษีย์ ซึ่งถือว่าเป็นฮะดีษฮะซัน และคนอื่น เป็นฮะดีษมัรฟัวอ์ ว่า

(مَنْ ذَرَعَهُ الْقَيْءُ فَلَيْسَ عَلَيْهِ قَضَاءٌ وَمَنِ اسْتَقَاءَ عَمْدًا فَلْيَقْضِ)

ความว่า “ผู้ใดอาเจียรโดยไม่เจตนา ก็ไม่มีการถือศีลอดใช้สำหรับเขา และผู้ใดจงใจทำให้อาเจียร เขาจงถือศีลอดชดใช้เถิด”

รอบีอะห์ กล่าวว่า ที่จริงแล้วมันทำให้เสียศีลอด ซึ่งเป็นรายงานหนึ่งจากอัลฮะซัน อัลบัศรีย์

อิบนุ ล มุนษิร ได้กล่าวว่า เรื่องนี้ – สำหรับผู้ที่อาเจียรออกมาเอง – การถือศีลอดของเขาไม่เสีย ซึ่งถือเป็นคำพูดของนักวิชาการ และมีรายงานจากอัลฮะซัน อัลบัศรีย์ สองรายงานด้วยกัน ทั้งเสีย และไม่เสีย

อิบ นุ รุชด์ ได้กล่าวว่า นักปราชญ์ส่วนใหญ่ถือว่าผู้ที่อาเจียรโดยไม่เจตนา ไม่ทำให้เสียศีลอด ยกเว้นร่อบีอะห์ เขากล่าวว่า ทำให้เสียศีลอด

หลักฐานของผู้ถือว่าเสียศีลอดเพียงแต่อาเจียร แม้จะโดยไม่เจตนาก็ตาม

ฮะ ดีษที่รายงานโดย อะบิดดัรดาอ์ – ที่นำเสนอโดย อิบนุ ฮิบบาน อัตติรมิษีย์ อะฮ์หมัด และคนอื่น ๆ ว่า แท้จริงท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม ได้อาเจียร แล้วท่านก็เสียศีลอด

เช่นเดียวกันฮะดีษที่นำเสนอโดยอัต ติรมิษีย์ ด้วยสายรายงานที่อ่อนแอ จากอะบีสะอีด อัลคุดรีย์ และอิบนุอะบีชัยบะห์ จากอะฏ๊ออ์ อิบนุยะซ๊าร จากท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม เป็นฮะดีษมัรฟัวอ์ ว่า “สามประการที่ไม่ทำให้ผู้ถือศีลอดเสียศีลอด คือ การกรอกเลือด การอาเจียร และการฝันเกี่ยวกับเรื่องเพศ

อัศศ็อนอานีย์ ได้กล่าวว่า ได้มีการตอบเรื่องดังกล่าวไว้ว่า ให้ถือว่าผู้ที่อาเจียรโดยไม่เจตนาเพื่อเป็นการรวมระหว่างหลักฐานต่าง ๆ และถือเอาอัลอาม เอาไว้ก่อนอัลค็อศ โดยที่อัลอามไม่ถูกต้อง และอัลค๊อฟนั้นมีน้ำหนักมากกว่า ทางสายรายงาน ดังนั้น ให้ปฏิบัติตามอัลค๊อศจะดีกว่า ถึงแม้ว่าความบริสุทธิ์ แห่งพื้นเดิมจะค้านกันก็ตาม

หลักฐานของผู้เจตนาอาเจียร

นัก วิชาการส่วนใหญ่ถือว่า การเจตนาอาเจียรนั้นทำให้เสียศีลอด เพราะมีฮะดีษที่รายงานโดยอะบูหุร็อยเราะห์ที่กล่าวมาแล้วที่ว่า คนที่อาเจียรโดยไม่ได้เจตนา

อะบูยูซุฟจากกลุ่มอัลฮะนะฟียะห์ และรายงานหนึ่งจากกลุ่มอัลฮะนาบิละห์ คนที่อาเจียรโดยเจตนา ถ้าออกมาในปากนิดหน่อยไม่ทำให้เสียศีลอด แต่ถ้าออกมามากเต็มปาก ถือว่าทำให้เสียศีลอด

มีรายงานจากอิบนุ มัสอู๊ด อิบนุอับบาส ฏอวูส อัลฮาดีย์ และรายงานหนึ่งจากอิมามมาลิก ได้กล่าวว่า การอาเจียรนั้นจะไม่ทำให้เสียศีลอดไม่ว่าโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะว่ามีหลักฐานที่มันค้านกัน เมื่อหลักฐานมันค้านกันก็ถือว่าร่วงไปทั้งสองให้ยึดเอาตามพื้นเดิม

สาเหตุที่บรรดานักนิติศาสตร์อิสลามมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องอาเจียร

กลับ ไป – ดังที่อิบนุ รุชด์ กล่าว – ยังความเข้าใจที่ว่าบรรดาฮะดีษที่รายงานมานั้น มันค้านกันในเรื่องนี้ และความเห็นที่แตกต่างในการถือว่าฮะดีษศ่อฮีฮ์ อันเนื่องจากมีฮะดีษมา 2 บท คือ

ฮะดีษบทที่ 1 ฮะดีษที่รายงานโดยอะบิดดัรดาอ์ ว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะวัลลัม ได้อาเจียร แล้วท่านก็เสียศีลอด

มะอ์ ดานได้เล่าว่า ฉันได้พบกับเษาบานในมัสญิดที่เมืองดามัสกัส ฉันได้กล่าวแก่เขาว่า อะบิดดัรดาอ์ ได้เล่าให้ฉันฟังว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม ได้อาเจียร แล้วท่านก็เสียศีลอด เขาตอบว่า เป็นเรื่องจริง ฉันยังเอาน้ำเทให้ท่านอาบน้ำละหมาดเลย และฮะดีษที่รายงานโดยเษาบานนี้ อัตติรมิษีย์ ได้ถือว่าเป็นฮะดีษศ่อฮีฮ์

ฮะดีษบทที่ 2 เป็นฮะดีษที่รายงานโดย อะบูหุร็อยเราะห์ นำเสนอโดยอัตติรมิษีย์ และอะบูดาวูดด้วยที่ว่า ท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า “ใครที่อาเจียรออกมาโดยไม่เจตนาขณะที่เขาถือศีลอด ก็ไม่มีการถือศีลอดชดใช้สำหรับเขา และผู้ใดเจตนาให้อาเจียรออกมา ก็จำเป็นแก่เขาที่จะต้องถือศีลอดชดใช้

และยังมีฮะดีษที่รายงานโดยอิบนุ อุมัร เป็นฮะดีษเมากู๊ฟ (สายรายงานสุดแค่ศ่อฮาบะห์)

ดังนั้น ผู้ใดที่ถือว่าฮะดีษทั้งสองบทไม่ศ่อฮีฮ์สำหรับเขา ก็กล่าวว่า ไม่มีการเสียศีลอดเลย

และ ผู้ใดยึดตามที่ปรากฏจากฮะดีษที่รายงานโดยเษาบาน โดยให้น้ำหนักเหนือฮะดีษที่รายงานโดยอะบูหุร็อยเราะห์ ก็คือจำเป็น (วาญิบ) ต้องเสียศีลอดอันเนื่องจากการอาเจียรโดยทั่วไปโดยไม่แยกระหว่างเจตนาหรือไม่ เจตนา

และผู้ใดได้รวมระหว่าง 2 ฮะดีษ เขาก็กล่าวว่า ฮะดีษเษาบานเป็นฮะดีษที่กล่าวไว้กว้าง ส่วนฮะดีษอะบูหุร็อยเราะห์มาอธิบายที่จำเป็นนั้นให้แยกระวห่างอาเจียรโดย เจตนากับไม่เจตนา ซึ่งเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่

ทัศนะที่มี น้ำหนัก สามารถจะประสานกันได้โดยการพิจารณาดูหลักฐานเลือกเอาที่แข็งแรงกว่า ระวังรักษาถึงความสำคัญของศาสนบัญญัติในเรื่องความสะอาด ให้พ้นจากความต่ำต้อย

muslimthaipost.com