“พลังจิต” ที่เกิดขึ้น ในภาวะถือศีลอด!

ADMIN

“พลังจิต” ที่เกิดขึ้น ในภาวะถือศีลอด!

การงดกิน งดดื่ม นอกจากจะส่งผลให้ร่างกายขาดพลังงานที่เคยได้รับเป็นประจำแล้ว ยังเป็นเหตุให้เผชิญกับสภาวะสูญเสียน้ำ จากการขับถ่ายอีก จึงไม่แปลกหากคนทั่วไปจะเป็นลม เพราะอดข้าวมาทั้งวัน…

แต่… เหตุใด บ่าวของอัลลอฮฺ ซบ. จึงสามารถทนทานกับการอดข้าวอดน้ำ จากการถือศีลอดอยู่ได้ แม้แต่เด็กๆ ที่ยังไม่บรรลุ “ศาสนภาวะ” (ยังไม่บังคับ)

การวิจัยพบว่า ขณะถือศีลอดนั้น “พลังจิต” ของพวกเขา อยู่เหนือกว่า พลังกาย!

“อิหม่าน” หรือ ความศรัทธา และ
“เหนียต” เจตนาอันแน่วแน่ ที่จะทำอิบาดะหฺ ต่ออัลลอฮฺ ซบ. จะเป็นผู้ออกคำสั่งไปยัง “ศูนย์ควบคุมความหิว” ให้รู้ว่า พวกเขา กำลังจะต้องเผชิญกับปฏิบัติการอะไร…

มันคือการกระตุ้นเซลล์ประสาท (นิวรอน) บริเวณฮัยโปทาลามัส (Hypothalamus) ให้ช่วยประสานการทำงานไปยังระบบต่างๆ ทั่วทั้งร่างกาย!
ให้สร้าง “สภาวะสมดุล” เพื่อทำภารกิจถือศีลอด

ระยะแรกร่างกายจะเริ่ม ทำการ “สลายพลังงานสะสม” ในรูปของไกลโคเจน ที่ก่อนหน้านั้น ได้เก็บสะสมไว้ใน “ตับ” และกล้ามเนื้อ โดยมีฮอร์โมน กลูกากอน จาก “ตับอ่อน” มาช่วยในปฏิกิริยาเคมีนี้

ซึ่งจะทำให้ได้ “น้ำตาลกลูโคส” ให้ผู้ถือศีลอด นำไปใช้เป็นพลังงานทดแทน (อัลลอฮุอักบัร)

ขณะเวลาใกล้ๆ กัน “ต่อมหมวกไต” หรือ Adrenal Gland ก็จะถูกกระตุ้นให้หลั่ง “สารเอพิเนฟริน” ออมาให้มากขึ้น มีผลทำให้ เซลล์ต่างๆ ใช้พลังงานน้อยลงด้วย!

และหากพลังงานที่ได้ ไม่พอใช้ ร่างกาย ก็จะสลายพลังงานสำรองในรูปของ “ไขมัน” เป็น “กรดไขมันอิสระ” ออกมาสู่กระแสเลือด และจะถูกเปลี่ยนไปเป็น “กลูโคส” เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานต่อไป อัลฮัมดุลิลละฮฺ

ส่วนการรักษา “ดุลน้ำ” และ “เกลือแร่” ที่เป็นงานสำคัญในระบบทั่วร่างกายมนุษย์ (Human body systems) ก็เป็นหน้าที่ของ Hypothalamus เช่นกัน ที่จะกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมน ADH ซึ่งจะช่วยให้ “ไต” ดูดซึมน้ำได้เพิ่มมากขึ้นทำให้ปัสสาวะน้อยและมีสีเข้ม

การถือศีลอดจึงเป็น บทบัญญัติที่อัลลอฮฺ(ซบ.) ประทานมาสร้างคุณค่าทั้งโลกหน้าและโลกนี้แก่มวลมนุษย์ อย่างแท้จริง

และเป็นสัญญาน แสดงให้คนยุคใหม่ ได้เห็นว่า แท้จริงพระองค์ทรงมีอยู่จริง รอบรู้ทุกสิ่ง และทรงยิ่งใหญ่เหนือสิ่งใด เพื่อพวกเราจะได้สิ้นสงสัย ในผู้ประทานลงมา ซึ่ง “ศาสนาอิสลาม”

«وَفِي أَنْفُسِكُمْ أَفَلا تُبْصِرُونَ» (الذاريات/21)

“และในตัวของพวกเจ้า พวกเจ้าไม่เห็นอะไรดอกหรือ…”
(อัซ-ซารียาต 51 : 21)

ขอขอบคุณข้อมูล

ท่าน นพ.มุหัมมัด ดาวูด อับดุลลอฮฺ

islamhouse.com

สื่ออิสระ เรียบเรียง