มารยาทของผู้ที่ทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺและตับลีฆ

ADMIN

มารยาทของผู้ที่ทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺตับลีฆ

ส่วนหนึ่งที่ผู้เผยแพร่ทุกคนควรสังวร และระวังรักษาโดยจะมองข้ามไปเสียมิได้ ก้อคือ วินัยตลอดจนจรรยามารยาทที่อาจเห็นว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หากผู้เผยแพร่ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายของวินัยตลอดจนจรรยามายาทที่ดีงามแล้ว แทนที่การเผยแผ่จะมีผลดี แต่อาจตรงกันข้าม อาจเกิดผลเสียอย่างร้ายแรงขึ้นก้อเป็นได้ ดังนั้นทุกคน จึงควรรสังวรตน และระวังรักษาเป็นอย่างดี เพราะมุสลิมทุกคนย่อมเป็นผู้ที่มีเกียรติอันใหญ่หลวงอยู่แล้ว ดังเช่น เมื่อเราต้องการจะห้ามปรามบุคคลหนึ่งจากการทำชั่ว โดยให้ละเลิกจากสิ่งที่ไม่ดี จำต้องใช้วิธีการพูด ห้ามปรามโดยเงียบๆ และอ่อนโยน ไม่ใช่ด้วยวิธีการขู่เข็ญ หรือฉาวโฉ่ต่อหน้าชุมชน เพราะในที่ชุมชนนั้น ทำให้ผู้ที่เราตักเตือนมีความอาย แล้วอาจเกิดผลร้ายในการตักเตือนได้

ในทำนองนี้ ท่านร่อซู้ล(ซล)ได้กล่าวไว้เป็นข้อคิดว่า

“จากอบูฮุรอยเราะฮฺ(หะดีษมัรฟูอฺ) เล่าว่า ท่านร่อซู้ล(ซล) กล่าวว่า บุคคลใดที่พยายามปกปิดความชั่วของมุสลิมหนึ่ง แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงปกปิดความชั่วของเขาในโลกนี้และโลกหน้า และอัลลอฮฺทรงพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือกับบ่าวของพระองค์ตราบที่บ่าวของพระองค์ให้ความช่วยเหลือต่อพี่น้องของเขา”

“จากอิบนุอับบาส(รฎ) เล่าว่า ท่านร่อซู้ล(ซล) กล่าวว่า บุคคลใดที่ปกปิดความลับพี่น้องของเขาแล้ว อัลลอฮฺจะทรงปกปิดความลับของเขาในวันกิยามะฮฺ ส่วนบุคลใดที่เปิดเผยความลับพี่น้องของเขาแล้ว อัลลอฮฺจะทรงเปิดเผยความลับของเขา จนกระทั่ง เขาจะได้รับความอับอายขึ้นภายในชุมชนของเขา”

หะดีษของท่านนบี(ซล) ซึ่งมีความหมายในทำนองเดียวกันนี้มีหลายบท ดังนั้นผู้ที่ทำการะเผยแผ่และอบรมศาสนา ควรสังวรและระวังเป็นอย่างมาก ในการที่เราควรจะปกปิดความลับ และให้เกียรติด้วยความจริงจัง และจริงใจ ต่อเกียรติของการสร้างความเป็นพี่น้องกันในอิสลาม

อีกหะดีษหนึ่งระบุว่า ผู้ใดที่ไม่ให้ความช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมในการที่จะให้เขารอดพ้นจากการถูกเหยียดหยามแล้ว อัลลอฮฺจะไม่ทรงให้ความช่วยเหลือเขา ในยามที่เขาต้องการความช่วยเหลือ (บันทึกโดย อบูดาวูด)

อีกริวายะฮฺหนึ่งระบุว่า ริบาอฺ(ดอกเบี้ย) ที่ร้ายแรงที่สุด คือการใส่ร้ายมุสลิม โดยไม่เป็นความจริง (บันทึกโดย อบูดาวูด)

ยังมีอีกหลายริวายะฮฺที่ระบุถึงมาตรการอันรุนแรงมากสำหรับการเหยียดหยามศักดิ์ศรีของมุสลิม ด้วยเหตุนี้เองผู้ตับลีฆ หรือเผยแผ่ฟื้นฟูศีลธรรมอิสลามแล้ว ควรระวังในเรื่องนี้ให้มาก

วิธีการเผยแผ่ที่ถูกต้องนั้นคือ การพยายามใช้วิธีการตักเตือนผู้กระทำผิดให้สำนึกด้วยจิตวิทยา และเตือนแบบลับๆ สำหรับความผิดที่กระทำแบบลับๆ ส่วนการกระทำความผิดที่เปิดเผย ก้อด้วยการตักเตือนที่เปิดเผยเช่นกัน ทั้งนี้ก้อควรระวังอย่างยิ่ง อย่าให้เขารู้สึกอับอายเป็นอันขาด มิเช่นนั้นแล้ว แทนที่จะได้ผลบุญกลับได้บาปแทน

สรุปคือ การห้ามปรามผู้กระทำผิดตามบัญชาของอัลลอฮฺนั้น ต้องแข็งแกร่ง แต่อย่าลืม มารยาทและวิธีการดังกล่าวมาแล้ว นั้นคือในสถานการณ์ที่ความผิด กระทำโดยโจ่งแจ้ง กรณีนี้ก้อให้เตือนแบบโจ่งแจ้งได้ โดยไม่ลำบากใจ แต่ถ้าความชั่วเกิดขึ้น โดยไม่มีการแผ่กระจายไปถึงคนอื่น นั้นเราก้อต้องหาวิธีการเตือนที่ไม่ทำให้เรื่องนี้แพร่กระจายไปถึงผู้อื่นเช่นกัน ส่วนการตักเตือน ต้องเป็นไปด้วยความนุ่มนวลเช่นกัน

พร้อมกันนี้ บุคคลผู้เผยแพร่ จะต้องมีมารยาท และระเบียบในการเผยแพร่ และตักเตือนผู้อื่นอยู่เสมอ เพราะการโจมตี ซ้ำเติม และการกล่าวคำที่เผ็ดๆ ร้อนๆ นั้น มันมักไม่ได้นำมาซึ่งผลดี แต่มักทำให้เกิดผลเสียมากกว่า บรรดาร่อซู้ลของอัลลอฮฺตลอดจนผู้ดำเนินตามทุกคน ย่อมเป็นผู้ที่เต็มเปี่ยมด้วยมารยาทอันดีงาม ในการพูดจาปราศรัยต่อผู้ฟัง

มีคนหนึ่งให้คำเตือนแก่คอลีฟะฮฺมะมูน อัลรอซีด ด้วยคำพูดที่หยาบคาย ท่านคอลีฟะฮฺจึงกล่าวว่า เจ้าจงพูดจากับฉัน ด้วยคำพูดที่สุภาพอ่อนโยนเถิด เพราะฟินอูนนั้นร้ายกาจยิ่งกว่าฉัน มูซาและฮารูนก้อดีกว่าเจ้ามาก แต่เมื่อจะเตือนฟิรอูนอัลออฮฺทรงตรัสสั่งว่า

“ดังนั้น เจ้าทั้งสองจงพูดจากับเขาด้วยคำพูดอันอ่อนโยน บางทีเขาอาจจะสำนึก หรือมีความยำเกรงขึ้น”
[20:44]

ที่มา:คุณค่าการดะอฺวะฮฺและตับลีฆ