อิสลามสอนให้ “ตักเตือน” มิใช่ “ด่าทอ”

ADMIN

الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد…؛

การตักเตือน اَلنَّصِيْحَةُ

1. เป็นคำพูดที่ดี

2. เป็นภารกิจจำเป็นที่ศาสนาใช้

3. มีความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง

4. เป็นคุณแก่ทั้งผู้ตักเตือนและผู้ถูกตักเตือนและมีผลบุญ

5. เป็นความประสงค์ดี

6. สร้างสัมพันธ์ดี

7. ก่อเกิดความรักและทัศนคติที่ดี

8. เป็นความกล้าหาญทางจริยธรรม

9. รู้กาลเทศะและความเหมาะควร

10. นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข

การด่าทอ السَّبُّ وَالشَّتْمُ

1. เป็นคำหยาบคาย

2. เป็นสิ่งที่ศาสนาห้าม

3. มีความโกรธเป็นบ่อเกิด

4. เป็นโทษสำหรับผู้ด่าทอและเป็นการละเมิดเกียรติของผู้ที่ถูกด่าทอ , มีบาป

5. เป็นการประสงค์ร้าย

6. ทำลายความสัมพันธ์

7. ก่อเกิดความชิงชังและเป็นอคติ

8. เป็นความอ่อนแอทางจิตใจและ ความบกพร่องทางจริยธรรม

9. มักไม่คำนึงถึงกาลเทศะและ ความเหมาะควร

10. ไร้แก่นสารและไม่สามารถชี้นำสู่การปรับปรุงแก้ไข

หลักฐานโดยรวม เช่น

(اَلِدِّيْنُ النَّصِيْحَةٌ)  “ศาสนาคือการการตักเตือน” (มุสลิม)

(مَنْ كَانَ يُؤمِنُ بِااللهِ وَالْيَوْمِ الآخِرَِفَلْيَقُلْ خَيْرًاأَوْلِيَصْمُتْ)

“ผู้ใดศรัทธาต่ออัลอฮฺและวันสิ้นโลก เขาผู้นั้นจงพูดสิ่งที่ดีหรือ (ไม่ก็) จงนิ่งเสีย” (อัล-บุคอรีย์ – มุสลิม)

(وَإِنَّ اللهَ يُبْغِضُ الْفَاحِشَ الْبَذِيَّ)

“และแท้จริงอัลลอฮฺทรงโกรธเคืองผู้ที่ใช้วาจาหยาบคายและต่ำทราม” (อัต-ติรมีซียฺ)

(لَيْسَ الْمُؤمِنُ بِا لطَّعَّانِ وَلاَ اللَّعَّانِ وَلاَ الْفَا حِشِ وَلاَ الْبَذِيِّ)

“ผู้ศรัทธานั้นมิใช่คนช่างติ , คนชอบแช่ง , คนที่พูดหยาบคาย และไม่ใช่คนที่ใช้วาจาต่ำทราม”  เป็นต้น

والله أعلم بالصواب

อ.อาลี เสือสมิง