การให้สลามด้วยการพูดหรือเขียนด้วยภาษาอื่นจากอาหรับ จำเป็นต้องรับสลามหรือไม่

ADMIN

การให้สะลามด้วยการพูดหรือเขียนด้วยภาษาอื่นจากอาหรับ จำเป็นต้องรับสะลามหรือไม่?

การเปล่งคำพูดหรือเขียนให้สะลามด้วยภาษาอื่นจากอาหรับ จำเป็นต้องรับสะลาม เพราะสิ่งดังกล่าวยังถูกเรียกว่าเป็นการให้สะลามครับ

 ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวว่า

وَإِذَا نَاداَهُ مِنْ وَرَاءِ حَائِطٍ أَوْ نَحْوِهِ فَقَالَ السَّلاَمُ عَلَيْكَ يَا فُلاَنُ أَوْ كَتَبَ كِتَاباً وَسَلَّمَ فِيْهِ عَلَيْهِ أَوْ اَرْسَلَ رَسُوْلاً وَقَالَ سَلِّمْ عَلَي فُلاَنٍ فَبَلَغَهُ الْكِتَابُ وَالرَّسُوْلُ وَجَبَ عَلَيْهِ رَدُّ الْجَوَابِ عَلَي الْفَوْرِ صَرَّحَ بِهِ اَصْحَابُنَا مِنْهُمْ اَبُو الْحَسَنِ الْوَاحِدِىِّ الْمُفَسِّرُ فِيْ كِتَابِهِ الْبَسِيْطِ وَالْمُتَوَلِّي وَالرَّافِعِيُّ وَغَيْرُهُمْ

“เมื่อบุคคลหนึ่งได้เรียกเขาจากหลังกำแพงหรืออื่นๆ แล้วเขาก็กล่าวว่า อัสสะลามมุอะลัยก้า โอ้ท่านคนนั้นคนนี้ หรือเขาได้เขียนสารและเขียนสะลามในสารให้แก่ชายคนนั้นหรือทำการส่งทูตไปและเขาก็กล่าว(กับทูตว่า)ท่านจงฝากสะลามแก่คนนั้นคนนี้ด้วย เมื่อหนังสือและทูตไปถึง ก็จำเป็นบนเขาต้องตอบรับสะลามโดยเร็ว ซึ่งปราชญ์ของเราได้ระบุชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ส่วนหนึ่งคือท่านอะบุลหะซันอัลวาหิดีย์ปราชญ์ตัฟซีรได้ระบุไว้ในหนังสืออัลบะสีฏของท่าน, ท่านอัลมุตะวัลลี , ท่านอัรรอฟิอีย์, และท่านอื่นๆ” อันนะวาวีย์, มัจญฺมูอฺ ชัรห์ อัลมุฮัซซับ, เล่ม 4, หน้า 594.

ท่านอิหม่ามอัรร็อมลีย์, ท่านอิหม่ามค่อฏีบอัชชัรบีนีย์, และท่านชัยค์ อัลชัรวานีย์ ได้กล่าวว่า

وَلَوْ سَلَّمَ بِالْعَجَمِيَّةِ جَازَ وَإِنْ قَدَرَ عَلَى الْعَرَبِيَّةِ حَيْثُ فَهِمَهَا الْمُخَاطَبُ وَوَجَبَ الرَّدُّ نِهَايَةٌ وَمُغْنِي

“หากเขาได้ให้สะสามด้วยภาษาอื่นจากอาหรับ ก็ถือว่าอนุญาต ซึ่งหากแม้ว่าเขาจะสามารถให้สะลามเป็นภาษาอาหรับก็ตาม โดยที่สนทนานั้นต้องเข้าใจ(การให้สะลามด้วย)ภาษาอื่นจากอาหรับและจำเป็นต้องรับสะลามด้วย ซึ่งในหนังสืออันนิฮายะฮ์(ของท่านอิหม่ามอัรร็อมลีย์และมุฆนุลมุห์ตาจญฺ(ของท่านอัลค่อฏีบอัชชัรบีนีย์ได้กล่าวไว้)” ดู อัรร็อมลีย์, นิฮายะตุลมุห์ตาจญฺ, 8, หน้า 52.และหาวาชี อัลชัรวานีย์และอัลอุบบาดีย์ อะลาตุห์ฟะติลมุห์ตาจญฺ เล่ม 9, หน้า 225. และอัชชัรบีนีย์, มุฆนิลมุห์ตาจญฺ, เล่ม 4, หน้า 215.

ท่านชัยคุลอิสลามซะกะรียา อัลอันศอรีย์ กล่าวว่า

وَلَوْ سَلَّمَ بِالْعَجَمِيَّةِ جَازَ إذَا فَهِمَ الْمُخَاطَبُ وَإِنْ قَدَرَ على الْعَرَبِيَّةِ وَوَجَبَ الرَّدُّ لِأَنَّهُ يُسَمَّى سَلَامًا

“เมื่อเขาได้ให้สะลามด้วยภาษาอื่นจากอาหรับ ก็ถือว่าอนุญาต เมื่อผู้สนทนาเข้าใจ และแม้ว่าเขาจะสามารถพูดภาษาอาหรับก็ตามและจำเป็นต้องตอบรับสะลาม เพราะการให้สะลามด้วยภาษาอื่นจากอาหรับนั้น ถูกเรียกว่าสะลาม” ซะกะรียา อัลอันศอรีย์, อัสนัลมะฏอลิบ, เล่ม 4, หน้า 184.

วัลลอุอะลัม(al-azhary)

อาจารย์ อารีฟีน แสงวิมาน