คำวินิจฉัย(ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะของมนุษย์

ADMIN

คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะของมนุษย์

1. 56 รวมคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี ที่ 11/2556 เรื่อง การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะของมนุษย์

คำถาม : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะของมนุษย์เป็นสิ่งที่ อนุญาตให้กระทำได้หรือไม่ ?

คำวินิจฉัย : ‫وبعد‬ … ‫أمجعني‬ ‫وصحابته‬ ‫آله‬ ‫وعلى‬ ‫حممد‬ ‫سيدنا‬ ‫على‬ ‫والسالم‬ ‫والصالة‬ ‫العاملني‬ ‫رب‬ ‫هلل‬ ‫احلمد‬

การจะวินิจฉัยว่า อวัยวะอันเป็นส่วนของร่างกายมนุษย์เป็นสิ่งที่อนุญาตตามหลักการ ของศาสนาอิสลามในการบริจาคหรือไม่ จำต้องแยกแยะประเด็นดังต่อไปนี้ ข้อชี้ขาดตามศาสนบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายอวัยวะของร่างกายมนุษย์ ข้อชี้ขาดตามศาสนบัญญัติว่าด้วยการบริจาคอวัยวะของร่างกายมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ให้แก่ มนุษย์ผู้อื่น ข้อชี้ขาดตามศาสนบัญญัติว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากอวัยวะของผู้เสียชีวิตสำหรับบุคคลที่ยัง มีชีวิตอยู่ ข้อชี้ขาดตามศาสนบัญญัติว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากอวัยวะของบุคคลผู้นั้น สำหรับบุคคลผู้ นั้นเอง ในแต่ละประเด็นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อชี้ขาดตามศาสนบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายอวัยวะของร่างกายมนุษย์ ปวงปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามเห็นพ้องตรงกันว่าการซื้อขายอวัยวะ อันเป็นส่วนของร่างกาย มนุษย์ถือเป็นโมฆะ และไม่อนุญาตให้บุคคลขายอวัยวะหนึ่งอวัยวะใดจากร่างกายของบุคคลผู้นั้น ไม่ว่าอวัยวะนั้นจะเป็นอวัยวะภายนอกหรืออวัยวะภายในก็ตาม และไม่ว่าอวัยวะนั้นจะเป็นอวัยวะ คู่ เช่น ไต หรือลูกอัณฑะ หรือปอด เป็นต้น หรืออวัยวะเดี่ยว เช่น หัวใจ หรือม้าม หรือตับ เป็นต้น

2. ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ | รวมคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี 57 ก็ตาม (1) ทั้งนี้ โดยให้เหตุผลว่า ร่างกายของมนุษย์และส่วนประกอบที่เป็นอวัยวะของร่างกายมนุษย์ มิได้มีไว้เพื่อการซื้อขาย มิใช่สินค้าที่ใช้ได้ในการนำมาแลกเปลี่ยนในเชิงการค้า แต่ร่างกายและ อวัยวะของมนุษย์เป็นสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ ทรงสร้างและทรงยกเกียรติให้มีศักดิ์และสิทธิ อันสูงส่งเกินกว่าที่จะนำมาซื้อขาย การซื้อขายร่างกายและอวัยวะของมนุษย์จึงเป็นสิ่งต้องห้ามอย่าง เด็ดขาด เพราะเป็นการละเมิดต่อเกียรติดังกล่าว และร่างกายของมนุษย์มิใช่กรรมสิทธิ์ของมนุษย์ ตามข้อเท็จจริง หากแต่เป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮ์  พระผู้ทรงสร้าง และมนุษย์เป็น เพียงผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษาร่างกายของตน ตลอดจนเป็นผู้ที่ถูกใช้ให้ดำเนินการตามขอบเขต แห่งความรับผิดชอบนั้นด้วยสิ่งที่เหมาะสม มิใช่ด้วยสิ่งที่ทำให้เกิดความเสียหาย หากมนุษย์ ก้าวล่วงขอบเขตและดำเนินการกับร่างกายของตน ด้วยสิ่งที่ค้านกับความเหมาะสมนั้น ก็ย่อมถือว่า มนุษย์ผู้นั้นได้ทุจริตต่อความรับผิดชอบที่พระองค์อัลลอฮ์  ทรงมอบหมายเอาไว้แล้ว (2) ดังนั้น การขายอวัยวะของมนุษย์จึงเข้าข่ายการดำเนินการในกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นของพระองค์ อัลลอฮ์  โดยมิได้รับอนุญาต และไม่มีประโยชน์ที่มีน้ำหนักเพียงพอ จึงเข้าข่ายการขายสิ่งที่ มนุษย์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสิ่งนั้น ที่สำคัญหากอนุญาตให้ขายอวัยวะของมนุษย์ได้ ย่อมเป็นการเปิด ช่องทางที่จะนำไปสู่ความเสียหายและอันตรายอันใหญ่หลวง กล่าวคือเป็นช่องทางสำหรับคนยากจน ในการขายอวัยวะของตนเพื่อแลกกับเงินตรา และบางทีอาจจะเลยเถิดจากการขายอวัยวะด้วย ความสมัครใจไปสู่การลักพาตัวผู้บริสุทธิ์ โดยเฉพาะเด็กๆ เพื่อการค้ามนุษย์และการตัดอวัยวะของ พวกเขา หรือแม้กระทั่งการฆ่าเพื่อเอาประโยชน์จากอวัยวะของพวกเขาในการขายอวัยวะนั้น (3) ดังนั้น การขายอวัยวะของมนุษย์จึงเป็นสิ่งต้องห้าม ทั้งนี้เพื่อปิดช่องทางที่จะนำไปสู่ความเสีย หายดังกล่าว ข้อชี้ขาดตามศาสนบัญญัติว่าด้วยการบริจาคอวัยวะของร่างกายมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้แก่มนุษย์ผู้อื่น เมื่อปรากฏตามคำวินิจฉัยในประเด็นที่ 1 ว่าการขายอวัยวะของมนุษย์เป็นโมฆะ และเป็น สิ่งต้องห้ามตามบัญญัติของศาสนา ย่อมมีคำถามตามมาว่า กรณีของการบริจาคอวัยวะของบุคคลที่ (1) อัล-มับซูฏ; อัช-ซัรฺเคาะซีย์ : 13/3, 15/125, มะวาฮิบุลญะลีล; อัล-ฮัฏฏ็อบ : 4/253, มุฆนีย์ อัล-มุฮ์ตาจญ์; อัช-ชิรบินีย์ อัล-เคาะฏีบ : 2/40, อัล-มุฆนีย์; อิบนุ กุดามะฮ์ : 4/288 (2) ฮุกมุ บัยอ์อัล-อินซาน ลิอุฏวินมิน อะอ์ฎออิฮี อะวิตตะบัรรุอิบิฮี; มุฮัมมัด ซัยยิด ฏอนฏอวีย์ มุฟตีย์แห่ง ประเทศอียิปต์ (ขณะนั้น)

บทความเผยแพร่ในการสัมมนาทางวิชาการว่าด้วยมุมมองของอิสลามต่อการ ประกอบวิชาชีพแพทย์ : หน้า 309 (3) อัล-เมาว์กิฟ อัล-ฟิกฮิย์ วัล-อัคลากีย์ มิน เกาะฎียะฮ์ ซัรฺอิลอะอ์ฎออ์; ดร.มุฮัมมัด อะลี อัล-บ๊าร : หน้า 184

3. 58 รวมคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ ยังมีชีวิตอยู่ให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งมีความต้องการอวัยวะนั้นเป็นสิ่งต้องห้ามเหมือนกับกรณีการขาย อวัยวะหรือไม่?

ประเด็นนี้นักวิชาการมีความเห็นแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายดังนี้

1) ไม่อนุญาตให้ตัดอวัยวะหนึ่งอวัยวะใดจากมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้รับการคุ้มครองจาก การละเมิดในชีวิตของมนุษย์ผู้นั้น โดยมีค่าตอบแทนหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ตาม เพื่อทำการปลูกถ่ายในร่างกายของมนุษย์อีกคนหนึ่งตามกระบวนการรักษา ถึงแม้ว่าจะมีความจำเป็นในขั้นอุกฤษฏ์ ก็ตาม (ส่วนหนึ่งจากนักวิชาการฝ่ายนี้ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.หะซัน อะลี อัช-ชาซุลลีย์ ในหนังสือ ของท่านที่ชื่อว่า “หุกมุ นักลิ อะอ์ฎออ์ อัล-อินซาน ฟิลฟิกฮัลอิสลามีย์” หน้า 109 เป็นต้นไป, ศาสตราจารย์ ดร.อับดุสสลาม อับดุรเราะฮีม อัซ-ซุกกะรีย์ ในหนังสือชื่อ “นักลุ ว่า ซิรออะฮ์ อัล- อะอ์ฎออ์ อัล-อาดะมียะฮ์ มิน มันซูร อิสลามีย์” หน้า 104, ชัยค์ มุฮัมมัด มุตะวัลลีย์ อัช-ชะอ์รอวีย์ ในหนังสือ “มินัล อะลิฟ อิลัลยาอ์” รวบรวมโดย ฏอริก หะบีบ หน้า 82-83, ดร.อับดุรเราะห์มาน อัล-อัดวีย์ ในวารสารมิมบัรฺ อัล-อิสลาม บทความเรื่อง “ญุนูน อิล-อิลม์ ฟีซิรออะฮ์ อัล-อะอ์ฎออ์ และ ศ.ดร.อับดุลฟัตตาห์ มะห์มูด อิดรีส) เป็นต้น นักวิชาการฝายนี้อาศัยหลักฐานจากอัล-กุรอานที่ว่า

﴾ ‫ا‬ً‫م‬ْ‫ي‬ِ‫ح‬َ‫ر‬ ‫م‬ُ‫ك‬ِ‫ب‬ ‫ن‬‫ا‬َ‫ك‬ ‫اهلل‬ ‫ن‬ِ‫إ‬ ،ْ‫م‬ُ‫ك‬َ‫س‬ُ‫ف‬ْ‫ن‬َ‫أ‬ ‫ا‬ْ‫ُو‬‫ل‬ُ‫ت‬ْ‫ق‬َ‫ت‬ ‫ال‬َ‫و‬ ﴿

ความว่า “และพวกท่านอย่าได้ปลิดชีพของพวกท่านเอง แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์ทรงมี พระกรุณาต่อพวกท่านเสมอ”
(อัน-นิซาอ์ : 29)

﴾ ‫ي‬ِ‫ن‬ِ‫ْس‬ُ ‫ال‬ ‫ب‬ِ ‫ي‬ ‫اهلل‬ ‫ن‬ِ‫إ‬ ‫ا‬ْ‫و‬ُ‫ن‬ِ‫س‬ْ‫ح‬َ‫أ‬َ‫و‬ ‫ة‬َ‫ُك‬‫ل‬ْ‫ه‬َّ‫ت‬‫ال‬ ‫ل‬ِ‫إ‬ ‫م‬ُ‫ك‬ْ‫ي‬ِ‫د‬ْ‫ي‬َ‫أ‬ِ‫ب‬ ‫ا‬ْ‫و‬ُ‫ق‬ْ‫ل‬ُ‫ت‬ ‫ال‬َ‫و‬ ﴿

ความว่า “และพวกท่านอย่าได้นำตัวของพวกท่านสู่ความวิบัติ และพวกท่านจงประพฤติการดี แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์ทรงรักบรรดาผู้ประพฤติการดี”

(อัล-บะเกาะเราะฮ์ : 195)

อายะฮ์อัล-กุรอานข้างต้นระบุอย่างชัดเจนว่าพระองค์อัลลอฮ์ ทรงบัญญัติห้ามการกระทำ อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ของมนุษย์หรือการกระทำการใดๆ ที่จะนำพาไปสู่ภาวะความเสี่ยง ต่อการสูญเสียชีวิต ดังนั้น บุคคลที่บริจาคอวัยวะหนึ่งอวัยวะใดจากร่างกายของตนย่อมได้ชื่อว่าผู้นั้น นำพาชีวิตของตนไปสู่ภาวะความเสี่ยงและความสูญเสีย เพื่อการมีชีวิตอยู่ของบุคคลอื่น ทั้งๆ ที่ บุคคลผู้นั้นมิได้มีภาระให้กระทำเช่นนั้น หากแต่ภาระของบุคคลผู้นั้นคือการรักษาชีวิตของตน ตาม นัยแห่งอายะฮ์อัล-กุรอาน ข้างต้น (1) และการตัดอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดจากร่างกายของมนุษย์ถือ เป็นอันตรายที่เกิดขึ้นจริงไม่ว่าจะเป็นกรณีของอวัยวะเดี่ยวหรืออวัยวะคู่ก็ตาม และการกระทำอันใด (1) นักลุลอะอ์ฏออ์ อัล-อาดะมียะฮ์; ดร.อับดุสสลาม อัซ-ซุกกะรีย์ : หน้า 107-108

4. ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ | รวมคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี 59 ที่เป็นอันตราย การกระทำนั้นถือเป็นสิ่งต้องห้ามตามหะดีษที่ว่า ”َ‫ار‬َ‫ر‬ ‫ض‬ ‫ال‬َ‫و‬ ‫ر‬َ‫ر‬ ‫ض‬ ‫ال‬“ “ไม่มีการทำอันตรายและไม่มีการประทุษร้ายต่อกัน” (อิบนุมาญะฮ์ : 2341) (1)

2) การบริจาคอวัยวะหรือส่วนหนึ่งส่วนใดจากร่างกายของบุคคลที่มีชีวิตให้แก่บุคคลอื่น เป็น สิ่งที่อนุญาตตามเงื่อนไขที่คำนึงถึงหลักว่าด้วยศักดิ์และสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ ตลอดจนการ ไม่มีภาวะที่เป็นอันตรายต่อบุคคลที่บริจาคอวัยวะนั้น เงื่อนไขดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ 2.1 ผู้บริจาคอวัยวะมีความยินยอมโดยสมัครใจและเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติตามนิติภาวะ คือ บรรลุศาสนภาวะและมีสติสัมปชัญญะโดยสมบูรณ์ ตลอดจนมีการระบุคำยืนยันถึงความสมัคร ใจในการบริจาคอวัยวะนั้น (2) 2.2 ผู้บริจาคอวัยวะนั้นจะต้องไม่มีอันตรายใดๆ อันเป็นเหตุให้ผู้บริจาคเสียชีวิตตามภาวะ ปกติ และตามเงื่อนไขนี้ไม่อนุญาตในการผ่าตัดอวัยวะหนึ่งอวัยวะใดที่มีผลทำให้ผู้บริจาคเสียชีวิต เนื่องจากการผ่าตัดอวัยวะนั้น เช่น หัวใจ และอวัยวะเดี่ยวในร่างกาย เช่น ตับ เป็นต้น ตลอดจน อวัยวะคู่ เช่น ลูกอัณฑะของชาย และรังไข่ของหญิง เป็นต้น การผ่าตัดอวัยวะดังกล่าวออกจาก ร่างกายของผู้บริจาคเป็นการส่งผลร้ายต่อการทำหน้าที่ทางกายวิภาคศาสตร์ของอวัยวะนั้น ถึงแม้ว่า ในภาวะปกติจะไม่นำไปสู่การเสียชีวิตของผู้บริจาคก็ตาม ทั้งนี้ เป็นเพราะมีกฎเกณฑ์ทางนิติศาสตร์ ระบุว่า “แท้จริง อันตรายนั้นจะไม่ถูกขจัดให้หมดไปด้วยอันตรายทัดเทียมกันหรืออันตรายที่ยิ่งยวด กว่า หากแต่อันตรายนั้นจะถูกปัดป้องด้วยสิ่งที่เบากว่า”

ดังนั้น แม้กระทั่งกรณีของอวัยวะที่ไม่ ส่งผลต่อการสูญเสียชีวิตหรือการสูญเสียสมรรถภาพของร่างกาย ก็มีเงื่อนไขกำหนดว่า การผ่าตัด อวัยวะนั้นจะต้องไม่นำพาไปสู่อันตรายเช่นกัน ซึ่งจำต้องอาศัยคำวินิจฉัยหรือดุลยพินิจของแพทย์ เฉพาะทางที่เชื่อถือได้ในการชี้ขาดและให้น้ำหนักว่า การผ่าตัดอวัยวะนั้นต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้ บริจาคและมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่ถูกปลูกถ่ายอวัยวะให้ (3) 2.3 การปลูกถ่ายอวัยวะนั้น จำต้องเป็นวิธีการเดียวทางการแพทย์ ซึ่งเป็นไปได้ในการ รักษาผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤตินั้น โดยมิอาจใช้วิธีการรักษาตามปกติในการช่วยชีวิตผู้ป่วยดังกล่าว อย่างไรก็ตามเงื่อนไขข้อนี้ไม่อาจจะนำมาใช้ในกรณีของการปลูกถ่ายไตได้ เพราะกรณีไตวายจะ ถูกรักษาด้วย 2 แนวทาง คือการฟอกไตและการปลูกถ่ายไต แต่การปลูกถ่ายไตมีผลดีกว่า ทั้งๆ ที่ (1) กิตาบ อัต-ตะดาวีย์ บิลมุหัรเราะมาต; ศ.ดร.อับดุลฟัตตาห์ มะหฺมูด อิดรีส : หน้า 303-304 (2) ฟัตวา มัจญ์มะอ์ อัล-ฟิกฮิลอิสลามีย์ เมืองญิดดะฮ์ ปี ฮ.ศ.1408 : แถลงการณ์เลขที่ 1 (3) ฟัตวาอิมามอักบัร ชัยค์ ญาดัลฮัก อะลี ญาดัลฮัก : หน้า 45

5. 60 รวมคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ ผู้ป่วยยังคงต้องฟอกไตอยู่โดยตลอด (1) 2.4 ผู้ป่วยที่จะรับการปลูกถ่ายอวัยวะจะต้องอยู่ในภาวะวิกฤติ อาจจะเสียชีวิตได้ทุกขณะ หากไม่ดำเนินการรักษาอย่างทันทวงทีด้วยการผ่าตัดอวัยวะจากผู้บริจาคและนำมาปลูกถ่าย 2.5 การปลูกถ่ายอวัยวะให้กับผู้ป่วยดังกล่าวต้องมีผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ในภาวะ ปกติหรือโดยส่วนใหญ่ และไม่อนุญาตให้ดำเนินการใดๆ ในการปลูกถ่ายอวัยวะที่ยังคงอยู่ในขั้นตอน การทดลอง 2.6 อวัยวะที่จะทำการปลูกถ่ายจะต้องได้มาจากการบริจาคเท่านั้น (2) อนึ่ง ทัศนะของนักวิชาการฝ่ายที่สองซึ่งอนุญาตให้บริจาคอวัยวะตามเงื่อนไขข้างต้น เป็น ทัศนะของนักวิชาการร่วมสมัยส่วนใหญ่ และเป็นคำวินิจฉัยขององค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการ วินิจฉัยปัญหาร่วมสมัยตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม อาทิ ชัยค์ ญาดัลฮัก อะลี ญาดัลฮัก อิมามอักบัร ชัยคุลอัซฮัร, ชัยค์มุฮัมมัด ซัยยิด ฏ็อนฏอวีย์, ดร.มุฮัมมัด อุมัร ฮาชิม, ชัยค์ อะฏียะฮ์ ศ็อกร์, ดร.มุฮัมมัด อะลี อัล-บ๊าร และฟัตวา อัล-มัจญ์มะอ์ อัล-ฟิกฮีย์ องค์การรอบิเฏาะฮ์ อัล-อาลัม อัล- อิสลามีย์ ตลอดจนเป็นคำฟัตวาของลัจญ์นะฮ์ อัล-อิฟตาอ์ ประเทศจอร์แดน และแอลจีเรีย (3) และ คำวินิจฉัยนี้ให้น้ำหนักแก่ทัศนะของนักวิชาการฝ่ายที่สองนี้ ข้อชี้ขาดตามศาสนบัญญัติว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากอวัยวะของผู้เสียชีวิตให้แก่ผู้ที่ ยังมีชีวิตอยู่ ตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม ร่างกายของมนุษย์มีศักดิ์ศรีอันจะละเมิดไม่ได้ ทั้งนี้ไม่ว่าร่างกาย นั้นจะเป็นบุคคลที่มีชีวิตหรือเสียชีวิตแล้วก็ตาม และไม่ว่าบุคคลผู้นั้นจะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นกรณีการใช้ประโยชน์จากอวัยวะของผู้เสียชีวิตด้วยการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะของเขาให้แก่ผู้มีชีวิต ที่มีความจำเป็นในขั้นอุกฤษฏ์จึงเป็นประเด็นที่นักวิชาการมีความเห็นต่างกันว่า เป็นที่อนุญาตหรือไม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายดังนี้ ฝ่ายที่หนึ่ง อนุญาตให้เปลี่ยนถ่ายอวัยวะของผู้เสียชีวิตเพื่อนำมาปลูกถ่ายในร่างกายของผู้ที่ ยังมีชีวิตด้วยเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. ผู้ป่วยที่จะได้รับประโยชน์จากอวัยวะซึ่งถูกเปลี่ยนถ่ายต้องมีความจำเป็นในขั้นอุกฤษฏ์ (1) ดร.มุฮัมมัด อะลี อัล-บ๊ารฺ; อัล เมาว์กิฟ อัล-ฟิกฮีย์ วัล-อัคลากีย์ มิน ซัรอิลอะอ์ฎออ์ : หน้า 141 สำนักพิมพ์ ดารุลเกาะลัม (2) เกาะฎอยา ฟิกฮียะฮ์ มุอาศิเราะฮ์; คณาจารย์ประจำ อัช-ชะรีอะห์ วัล-กอนูน กรุงไคโร มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร : หน้า 355 (3) ดูเชิงอรรถ เกาะฎอยา ฟิกฮียะฮ์ มุอาศิเราะฮ์ : หน้า 356

6. ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ | รวมคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี 6

1 กล่าวคือเกรงว่าผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตหรือมีภัยร้ายแรงในกรณีหากมิได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่าย อวัยวะนั้น

2. จะต้องไม่มีซากสิ่งมีชีวิตอื่น นอกจากศพของมนุษย์ที่สามารถใช้ประโยชน์จากซากสิ่ง มีชีวิตนั้นได้ ดังนั้น หากพบว่ามีซากสิ่งมีชีวิตอื่นที่ทดแทนได้ ก็ไม่อนุญาตให้เอาประโยชน์จาก อวัยวะของศพมนุษย์

3. แพทย์ผู้ชำนาญการที่เชื่อถือได้จะต้องเป็นผู้ชี้ขาดว่าอวัยวะที่ถูกเปลี่ยนถ่ายจากศพของผู้ เสียชีวิตนั้นเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยได้จริง และยืนยันว่าไม่มีวิธีการรักษาอย่างอื่นที่สามารถ กระทำได้

4. การเอาประโยชน์จากอวัยวะของศพจำต้องได้รับอนุญาต อาทิ ผู้เสียชีวิตได้สั่งเสียหรือทำ พินัยกรรมเรื่องดังกล่าวเอาไว้ก่อนการเสียชีวิต หรือญาติใกล้ชิดของผู้เสียชีวิตยินยอมพร้อมใจให้ ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยการอนุญาตหรือการยินยอมเป็นไปด้วยความสมัครใจ

5. การอนุญาตหรือยินยอมให้ผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะจากศพจะต้องเป็นการบริจาคเท่านั้น

6. การเสียชีวิตของผู้ประสงค์บริจาคอวัยวะจะต้องได้รับการยืนยันตามหลักการแพทย์และ กรณีแวดล้อมว่ามีการเสียชีวิตแล้วจริงโดยสิ้นข้อสงสัย (1) ฝ่ายที่สอง มีทัศนะว่า ไม่อนุญาตให้ผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะใดๆ จากศพของผู้เสียชีวิต เพื่อนำมาปลูกถ่ายให้แก่ผู้อื่นที่ยังมีชีวิตอยู่ เนื่องจากสิ่งดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อศักดิ์และสิทธิของ ผู้เสียชีวิต และผู้เสียชีวิตก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอวัยวะของร่างกายตน จึงไม่มีสิทธิในการสั่งเสียหรือ ทำพินัยกรรมเพื่อบริจาคอวัยวะของตนแก่ผู้หนึ่งผู้ใดก่อนการเสียชีวิตของตน และญาติใกล้ชิดของ ผู้เสียชีวิตก็ไม่มีสิทธิเช่นกัน(2) อย่างไรก็ตาม ความเห็นต่างของนักวิชาการในประเด็นการเปลี่ยนถ่าย อวัยวะจากศพเพื่อนำไปปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นในขั้นอุกฤษฏ์มิได้มีความเข้มข้นเท่ากับ ประเด็นของการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต เพื่อนำไปปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่มีความ จำเป็นในขั้นอุกฤษฏ์ เป็นผลทำให้กลุ่มนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นหลังมีความเห็นว่า อนุญาตให้เปลี่ยนถ่ายอวัยวะจากศพ เพื่อนำไปปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นในขั้นอุกฤษฏ์ได้ แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข 6 ประการที่กล่าวมาแล้ว

ส่วนหนึ่งจากนักวิชาการเหล่านั้น ได้แก่ ศ.ดร.ฮะซัน อัซ-ซาซุลีย์, ดร.อับดุรเราะฮีม อัซ-ซุกกะรีย์ และดร.อับดุลฟัตตาห์ อิดรีส เป็นต้น (1) เกาะฎอยา ฟิกฮียะฮ์ มุอาศิเราะฮ์ : หน้า 373-374, ฟิกฮุล เกาะฎอยา อัฏ-ฏิบบียะฮ์ อัล-มุอาศิเราะฮ์; ศาสตราจารย์ อะลี ยูซุฟ มุฮัยยิดดีน อัลกุรอฮ์ดาฆีย์, ศาสตราจารย์อะลี ยูซุฟ อัล-มุฮัมมะดีย์ : หน้า 494-495 (2) ฟัตวา อัชชัยค์ มุฮัมมัด มุตะวัลลีย์ อัช-ชะอ์รอวีย์ จากวารสาร อัล-ลิวาอุล อิสลามีย์ อันดับที่ 266 ปีที่ 6 ค.ศ. 1987, กิตาบมินัลอะ-ลิฟ อิลัลยาอ์; ฏอริก หะบีบ : หน้า 82-83, ดร.อับดุรเราะหฺมาน อัล-อัดวีย์ จากวารสารมิม บะรุลอิสลาม : หน้า 30-34, บทความเรื่องญุนูน อัล-อิลมีย์ ฟี ซิรออะฮ์ อัล-อะฎออ์ อันดับที่ 2 ปี ค.ศ.1992

7. 62 รวมคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ พิจารณาแล้ว จึงมีคำวินิจฉัยว่า ตามหลักศาสนบัญญัติในภาวะปกติ ถือว่าการใช้ประโยชน์ จากอวัยวะของร่างกายมนุษย์ ไม่ว่ามนุษย์ผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตแล้วก็ตาม เป็นสิ่ง ต้องห้าม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปกป้องศักดิ์และสิทธิ์แห่งความเป็นมนุษย์ และรักษาเกียรติของผู้เสียชีวิต เพื่อมิให้มีการกระทำใดๆ ที่นำไปสู่การประทุษร้ายต่อศพ ยกเว้นในกรณีที่มีความจำเป็นในขั้นอุกฤษฏ์ หรือมีความต้องการอย่างยิ่งยวดก็อนุญาตให้กระทำสิ่งดังกล่าวนั้นได้ ตามเงื่อนไขที่ถูกกำหนดไว้ โดยเคร่งครัด ข้อชี้ขาดตามศาสนบัญญัติว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากอวัยวะของบุคคลผู้นั้นเพื่อ ผู้นั้นเอง ประเด็นนี้ วินิจฉัยว่า เมื่อปรากฏว่าการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในขั้นอุกฤษฏ์ ตามคำชี้ขาดของแพทย์ผู้ชำนาญการ เช่น การเปลี่ยนถ่ายเส้นเลือดปกติในร่างกายเพื่อรักษา หลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น

การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นที่อนุญาต ทั้งนี้เนื่องจากการมีชีวิตรอด ของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาดังกล่าวในทางการแพทย์และเป็นที่อนุญาตเช่นกันในกรณี เมื่อปรากฏว่าการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะในร่างกายของผู้ป่วยเป็นความจำเป็นไม่ถึงขั้นอุกฤษฏ์ เช่นการ เปลี่ยนถ่ายผิวหนังที่ดีและเหมาะสมจากที่หนึ่งของร่างกายไปยังอีกที่หนึ่งของร่างกายในภาวะที่ ผู้ป่วยประสบเหตุไฟไหม้เป็นต้น โดยคำวินิจฉัยนี้ถือตามทัศนะของนักนิติศาสตร์อิสลามรุ่นก่อนที่มี ทัศนะว่าอนุญาตให้ตัดอวัยวะหรือชิ้นส่วนของร่างกาย เพื่อรักษาชีวิตบุคคลนั้นได้ และเป็นการขจัด อันตรายที่จะเกิดขึ้น เมื่อค่อนข้างมั่นใจได้ว่า หากไม่ตัดอวัยวะหรือชิ้นส่วนของร่างกายผู้นั้นแล้วจะ เกิดอาการลุกลามหรือภาวะแทรกซ้อน จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นเสียชีวิต ดังนั้น การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เพื่อรักษาผู้ป่วยให้รอดชีวิตซึ่งอวัยวะนั้นเป็นของผู้ป่วยเองจึงเป็นสิ่งที่สมควรกระทำยิ่งกว่า (1) ‫بالصواب‬ ‫اعلم‬ ‫واهلل‬ อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี

* * * (1) ดร.บักร์ อบูซัยด์ อัตตัชรีห์ อัล-ญุษมานีย์ วัน-นักลุ วัต-ตะอ์วีฎ อัล-อินซานีย์ มัจญ์มะอ์ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อิสลามีย์ : อันดับที่ 6 ภาคที่ 3, ดร.อัล-ญักนีย์ อัช-ชังกีฏีย์ อะห์กาม อัล-ญิรอหะฮ์ อัฏฏิบบียะฮ์ : หน้า 223, ฟิกฮุล เกาะฏอยา อัฏ-ฏิบบียะฮ์ อุล-มุอาศิเราะฮ์ : หน้า 489

slideshare.net/omnumn/11-2556