การแต่งงาน (นิกะห์) ในอิสลาม

ADMIN

บทบัญญัติการแต่งงาน

การแต่งงาน (นิกะห์) หมายถึง การใช้ชีวิตคู่ระหว่างสองเพศ หรืออีกนิยามหนึ่งเรียกว่า การร่วมเพศ สำหรับในทางบทบัญญัตินั้นหมายถึง การทำสัญญาผูกมมัดระหว่างสองเพศเพื่ออนุญาตให้ใช้ชีวิตร่วมกันได้ โดยมีคำสัญญาที่ถูกกำหนดหรือมีความหมายที่เข้าใจ

อิสลามส่งเสริมให้แต่งงาน

จากอัลกุรอาน ซูเราะฮ์อันนูร อายะฮ์ที่ 32 ความว่า “จงแต่งงานกับผู้ที่เป็นโสดในหมู่พวกเจ้า และกับคนดีจากปวงบ่าวผู้ชายและปวงบ่าวผู้หญิงของพวกเจ้า หากพวกเขายากจนอัลลอฮ์จะทรงทำให้พวกเขาร่ำรวยขึ้นด้วยความโปรดปรานของพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงกว้างขวางและรอบรู้”

ดังนั้นนักวิชาการได้แบ่งข้อบัญญัติว่าด้วยการนิกะห์ ออกเป็น 5 ประเภท

ส่งเสริม (สุนัต) สำหรับผู้ที่มีความสามารถจ่ายค่าเลี้ยงดูและปฏิบัติภารกิจหน้าที่รับผิดชอบของสามี (ซอฮิร บาติน) มีความประสงค์เพื่อทำตามแบบอย่างของท่านศาสดา
ฮะโรส (อนุญาต) หากบุคคลนั้นมีความพร้อมการสร้างครอบครัวและปรนเปรออารมณ์ตามที่ศาสนาอนุมัติ ทั้งนี้เขามีความสามารถยับยั้งการทำความชั่ว เช่น ละเมิดประเวณี เป็นต้น
ไม่ควร (มักโรห์) สำหรับผู้ที่ไม่มีความสามารถจ่ายค่าเลี้ยงดู และไม่สามารถปฏิบัติภารกิจของสามีหรือไม่สามารถจ่ายมะฮัรได้
จำเป็น (วายิบ) สำหรับผู้ที่คิดว่าตัวเองอาจตกอยู่ในสภาพเหตุการณ์สู่การทำซินาหากไม่แต่งงาน และมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ต่อครอบครัว
ต้องห้าม (ฮะรอม) สำหรับผู้ที่ไม่มีความพร้อมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อตนเองได้หรือตนเองเป็นคนทรยศ หรือตนเองเป็นคนพิศดารทางเพศ ที่อาจเกิดอันตรายต่อคู่สมรสได้
บัญญัติเรื่องการเลือกคู่ครอง

อิสลามสอนให้เรารู้วิธีเลือกคู่ครองที่มีความพร้อมตามแนวทางที่ศาสนาได้กำหนด ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า ความว่า “หากชายใดเกิดความคิดต้องการหมั้นหมายกับหญิงนางหนึ่ง ดังนั้นไม่ผิดหรอกหากเขาจะมองตัวของนาง (ใบหน้าเพื่อทำการหมั้น)”

ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า ความว่า จงแต่งงานกับหญิง 4 ประเภทดังต่อไปนี้

เพราะทรัพย์สินของนาง
เพราะความสวยของนาง
เพราะวงศ์ตระกูลของนาง
เพราะศาสนาของนาง
ดังนั้นเจ้าจงเลือกเอานางที่มีศาสนา จะทำให้ท่านมีความสุข

วิธีเลือกคู่สมรส สามี ภรรยา

บทบัญญัติการเลือกคู่ครองคือ ส่งเสริม (สุนัต) โดยวิธีการเลือกคู่ครองมีดังต่อไปนี้

มีศาสนา
ชนิดตระกูลที่ให้บุตรมากและมีความรักความเมตตา
บริสุทธิ์
วงศ์ตระกูล
ปราศจากปมด้อยต่างๆ ที่อาจนำไปสู่การฟ้องหย่า เช่น โรคติดต่อและอื่นๆ
ไม่เป็นเครือญาติ (เครือญาติที่นิกะห์ได้)
ต้องเป็นไท ไม่เป็นทาส
สถานะเดียวกัน
ไม่ละเมิดประเวณี หรือซีนา
บัญญัติเรื่องมะฮัร (สินสอด)

มะฮัรนั้นมี 2 ประเภท

คำกล่าว มะฮะรมุชำมา คือสินสอดที่ได้ระบุในคำสัญญาอิญาบ กะบูล โดยการตกลงกันทั้งสองฝ่าย
คำกล่าว มะฮะรมะซัล คือ สินสอดที่ไม่ได้ระบุจำนวนที่แน่นอน แต่ทางฝ่ายชายได้ประเมินราคาและกำหนดไปตามสถานภาพของบุคคล ครอบครัว หน้าที่การงาน สังคมของฝ่ายหญิง
ประเภททรัพย์สินที่จ่ายมะฮัร เป็นประเภทสิ่งของมีค่า มีประโยชน์นั้นนำมาจ่ายเป็นมะฮัรได้ อัตราสินสอดนั้นจะมากหรือน้อยนั้น ให้เป็นดุลพินิจของทั้งสองฝ่าย แต่ก็ไม่ควรตั้งมะฮัรให้สูงเกินไป เพราะจะทำให้ฝ่ายชายเดือดร้อน

บัญญัติเรื่องการหมั้นและวิธีการหมั้น

บัญญัติการหมั้น เป็นสิ่งที่ศาสดาส่งเสริม โดยวิธีการหมั้นมีดังนี้

ห้ามผู้ชายหมั้นหญิงที่เป็นคู่หมั้นของชายอื่น
ห้ามมองหญิงที่จะทำการหมั้นนอกจากใบหน้าและสองฝ่ามือ
ห้ามใช้ชีวิตอยู่สองต่อสองในที่เปล่าเปลี่ยวโดยไม่มีญาติหรือบุคคลที่สาม
ห้ามนำพาคู่หมั้นก่อนนิกะห์ออกจากบ้าน แม้ว่าทางผู้ปกครองแต่ละฝ่ายจะอนุญาตก็ตาม
ห้ามฝ่ายชายสวมแหวนหมั้นที่นิ้วมือของฝ่ายหญิงก่อนทำพิธีนิกะห์
สิ่งของที่มอบให้ในวันหมั้นไม่อนุญาตให้ขอคืน
พิธีกรรม การนิกะห์ (แต่งงาน)

มีพิธีกรรมในการนิกะห์ ดังต่อไปนี้

การนิกะห์ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หลักการเงื่อนไขทุกประการ
ไม่ตั้งค่าสินสอด (มะฮัร) สูงเกินไป
ควรจัดงานเลี้ยงตามความเหมาะสมในคืนหรือวันที่ทำการนิกะห์
ควรทำพิธีนิกะห์ในมัสยิด
ห้ามนำรูปแบบหรือกิจกรรมที่ต้องห้ามมาปะปนในพิธีนิกะห์
ที่มา : หนังสือคู่มือเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน (นิกะห์) หน้า 13 -16