เจ้าเมืองปัตตานีเปลี่ยนจากนับถือพุทธไปนับถืออิสลาม

ADMIN

เจ้าเมืองปัตตานีเปลี่ยนจากนับถือพุทธไปนับถืออิสลาม

เจ้าเมืองปัตตานีเปลี่ยนจากนับถือพุทธไปนับถืออิสลาม

ราว พ.ศ. ๒๐๔๓ เจ้าเมืองปัตตานีที่ชื่อ พญาตู นักปา หรือตู อันตารา หรือ ราชาอินทิรา (Raja Intira) ซึ่ง นับถือพุทธศาสนาได้ล้มป่วยลง โดยมีรอยแตกระแหงตามร่างกาย บางตำราว่าเป็นโรคเรื้อน ซึ่งหมอหลวงชาวปัตตานีรักษาไม่หาย แต่ มีหมอมุสลิมชาวปาซายจากสุมาตรา คนหนึ่ง ชื่อ เชค ซาอิด หรือ เชค ซาฟียุคดิน (Sheikh Safiuddin) อาสารับจะรักษาโรค โดยมีข้อแม้ว่า เมื่อหายแล้วเจ้าเมืองจะต้องเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม เจ้าเมืองก็ยอมตกลงตามที่หมอมุสลิมผู้นั้นขอ แต่เมื่อรักษาหายแล้วกลับไม่ทำตามสัญญา จนหลายปีต่อมาโรคเก่ากำเริบอีก หมอมุสลิมคนนั้นก็เข้าไปรักษาโดยขอคำมั่นเช่นเดียวกับครั้งแรก เมื่อรักษาหายแล้ว เจ้าเมืองก็บิด
พลิ้วอีกตามเคย เมื่อโรคกำเริบเป็นครั้งที่สาม เจ้าเมืองได้ให้คำสาบานว่า “ในคราวนี้ ข้าขอสาบานต่อหน้าพระพุทธรูปที่กราบไหว้อยู่ทุกวันว่า หากข้าบิดพลิ้วอีก ขอให้กลับเป็นโรคเก่าอย่ารู้จักหายอีกเลย”

ดังนั้นเมื่อหายจากโรคแล้ว เจ้าเมืองปัตตานีก็เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามพร้อมกับครอบครัว รวมทั้งขุนนางทั้งปวง นับแต่นั้นมา ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายในปัตตานีอย่างรวดเร็ว เจ้าเมืองปัตตานีได้ เปลี่ยนชื่อเป็น สุลต่าน อิสมาอีล ชาห์ (Sultan Ismail Syah) ตามแบบของอาหรับ โอรสของ พระองค์มีนามว่า กรุบ พิชัย ปัยนา เปลี่ยนนามเป็น มุฏ็อฟฟัร ชาห์ ธิดาของพระองค์ที่มีนามว่า ตนเรามหาชัย เปลี่ยน นามเป็น ซีตี อาอีชะฮฺ และโอรสของพระองค์ องค์สุดท้ายมีนามว่า มหาชัยปัยลัง เปลี่ยนนามเป็น มันศูร ชาห์ การเปลี่ยนศาสนาจากพุทธอิสลามของสุลต่านปัตตานีองค์แรกนั้น ในพงศาวดารปัตตานี ระบุว่า เพียงแต่ละทิ้งการกินหมูและไม่กราบไหว้พระพุทธรูปเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วยังทำตามประเพณีเดิมทุกประการ บางตำราว่ามีการสั่งให้ทำลายเทวรูป พระพุทธรูป และสร้างมัสยิดขึ้นแทนพงศาวดาร ไทยระบุไว้ว่า

ในพ.ศ. ๑๙๙๘ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงแต่ทัพให้ไปเอาเมืองมลากา แต่ตีเมืองไม่สำเร็จ กองทัพมะละกากลับตีหัวเมืองสยามกลับคืน ได้แก่ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน และไทรบุรี เมื่อสุลต่านอิสมาอีล ชาห์ สิ้นพระชนม์แล้ว โอรสซึ่งมีนามว่า มุฏ็อฟฟัร ชาห์ ได้ครองเมืองต่อ ส่วนเจ้าหญิง อาอิชะฮฺ ได้อภิเศก กับสุลต่านญะลาลเจ้าเมืองสาย(สายบุรี) ในสมัยนั้นปัตตานีเจริญขึ้น อย่างรวด เร็ว มีพ่อค้าชาวต่างประเทศเข้ามาทำการค้าขายมากมาย ในปี ค.ศ. 1516 (พ.ศ. 2059) เฟร์เนาน์ เมนเดส ปินโต(Fernao Mendes Pinto) นักผจญภัยชาวโปรตุเกส ได้เขียนไว้ว่า “ขณะที่ข้าพเจ้ามาถึงปัตตานีนั้น ได้พบกับชาวโปรตุเกสเกือบ 300 คน นอกจากจากนั้น มีชาวตะวันออกอื่นๆ คือสยาม จีน ญี่ปุ่น สำหรับชาวญี่ปุ่นนั้น มีกิจการค้าใหญ่โต”

สินค้าที่โปรตุเกสมาค้าขายที่ปัตตานีสมัยนั้นคือ ข้าว ดีบุก งาช้าง กำยาน คราม ครั่ง และไม้ฝาง มีรายงานว่า ในฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เรือสำเภาจากจีนจะมาจอดที่สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ปัตตานี และเมื่อถึงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มาถึง เรือสำเภาก็จะแล่นใบกลับไปเมืองจีนจักรพรรดิจีนสมัยพญาเลอไทย คือ จักรพรรดิหงวนเสงจงฮ่องเต้ (โอรสกุบไลข่าน) สินค้าไทยที่ ส่งออกไปจีนในสมัยนั้น คือ ของป่า ไม้สัก ไม้ฝาง และข้าว ส่วนสินค้าเข้าจากจีน คือ ผ้าแพร ผ้าไหม และภาชนะเคลือบดินเผนภาษา พื้นเมืองถิ่นปัตตานี ในสมัยก่อนนั้น

นอกจากปัตตานี จะเป็นศูนย์กลางทางการค้าแล้วยังเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา และการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม ปัตตานีมีภาษาท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งคล้ายคลึงแต่ไม่เหมือนกับภาษามลายูกลางที่ใช้กันแถบเมืองกัวลาลัมเปอร์ ภาษาพื้นเมืองถิ่นปัตตานีนี้ใช้กันแพร่หลายในบริเวณชายแดนภาคใต้ของประเทศ ไทย ชายแดนภาคเหนือของมาเลเซีย และในรัฐอาเจะห์ของอินโดนีเซีย มีการดัดแปลงเพิ่มตัวอักษรอาหรับเพื่อให้สามารถออกเสียงตามเสียงพื้นเมือง ท้องถิ่นปัตตานีนี้ได้ เรียกว่า อักษรยาวี

ดังนั้นคำว่ายาวี ที่แท้จริงนั้นเป็นชื่อของตัวอักษรที่เขียนขึ้นตามสำเนียง เสียงท้องถิ่นปัตตานี มิใช่ชื่อการออกเสียงตามที่คนไทยภาคอื่นเข้าใจกันการที่ประชาชนชาวพื้นเมือง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส นิยมพูดภาษาพื้นเมืองถิ่นปัตตานี ซึ่งมีโครงสร้างแตก ต่างจากภาษาไทยภาคใต้ หรือภาคอื่นๆ ทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกันกับคนไทยภาคอื่นๆ ซึ่งไม่เข้าใจสิ่งที่ประชาชนพูดกันบริเวณชายแดนภาคใต้ ทำให้เกิดความพยายามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่จะสอนหรือรณรงค์ให้ประชาชนชายแดนใต้ พูดและอ่านภาษาไทยให้ได้ โดยพยายามจะเข้าไปทางโรงเรียนปอเนาะและมัสยิด แต่ด้วยความไม่เข้าใจลึกซึ้งทางด้านวัฒนธรรม ทำให้เกิดข้อขัดแย้งเมื่อกระทรวงศึกษาธิการพยายามจดทะเบียน และให้สอนวิชาสามัญในปอเนาะ เพราะโต๊ะฆูรูหรือเจ้าของปอเนาะบางคนต้องการสอนเพียงด้านศาสนาอิสลามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น 

ที่มา:  pocketthai.blogspot.com