ความประเสริฐและวิธีละหมาดตะฮัจญุด

ADMIN

การละหมาดตะฮัจญุด

หุก่มกิยามุลลัยลฺ

กิยามุลลัยลฺ คือการละหมาดสุนัตมุฏลักซึ่งเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ ซึ่งอัลลอฮฺได้ใช้ให้เราะสูลของพระองค์ปฏิบัติเป็นประจำ

1- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

( يَا أَيُّهَا الْمُزَّمِّلُ (1) قُمِ اللَّيْلَ إِلَّا قَلِيلًا (2) نِصْفَهُ أَوِ انْقُصْ مِنْهُ قَلِيلًا (3) أَوْ زِدْ عَلَيْهِ وَرَتِّلِ الْقُرْآنَ تَرْتِيلًا (4)ﭤ ﭥ) [المزمل / 1-4].

ความว่า “โอ้ผู้คลุมกายอยู่นั้น จงยืนขึ้น(ละหมาด)ในเวลากลางคืนเว้นแต่เพียงเล็กน้อย(ไม่ใช่ตลอดคืน) ครึ่งหนึ่งของกลางคืน หรือลดน้อยกว่านั้นเพียงเล็กน้อย หรือมากกว่านั้น และจงอ่านอัลกุรอานช้าๆเป็นจังหวะ” (อัล-มุซซัมมิล : 1-4)

2- และอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

(ﭽ ﭾ ﭿ وَمِنَ اللَّيْلِ فَتَهَجَّدْ بِهِ نَافِلَةً لَّكَ عَسَى أَن يَبْعَثَكَ رَبُّكَ مَقَامًا مَّحْمُودًا ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮇﮈ ﮉ)  [الإسراء/79].

ความว่า “และจากบางช่วงของกลางคืน เจ้าจงตื่นขึ้นมาละหมาด เป็นการสมัครใจสำหรับเจ้า หวังว่าพระผู้อภิบาลของเจ้าจะให้เจ้าได้รับตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ” (อัล-อิสรออ์ :79)

3- และอัลลอฮฺได้กล่าวถึงลักษณะของผู้ที่เกรงกลัวอัลลอฮฺว่า

(كَانُوا قَلِيلًا مِّنَ اللَّيْلِ مَا يَهْجَعُونَ وَبِالْأَسْحَارِ هُمْ يَسْتَغْفِرُونَ    ) [الذاريات/17- 18].

ความว่า “พวกเขาได้หลับนอนเพียงนิดหน่อยในเวลากลางคืน และในยามรุ่งสาง พวกเขาได้ขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ” (อัซ-ซาริยาต : 17-18)

ความประเสริฐของการละหมาดกิยามุลลัยลฺ

กิยามุลลัยลฺเป็นอิบาดะฮฺที่ประเสริฐที่สุดอย่างหนึ่ง และประเสริฐกว่าการละหมาดสุนัตกลางวัน เพราะมันจะเกิดความอิคลาศเพื่ออัลลอฮฺมากกว่าเนื่องจากเป็นช่วงที่ลับจากสายตาผู้คน และเนื่องจากความลำบากอดนอนหรือตื่นนอนเพื่อทำการละหมาดนั้นเป็นสิ่งที่น้อยคนจะทำได้ และเนื่องจากมันการละหมาดที่ได้รสชาติในการเข้าพบอัลลอฮฺมากที่สุด และในช่วงท้ายของกลางคืนนั้นเป็นเวลากิยามุลลัยลฺที่ประเสริฐที่สุด

1- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

(ﭬ ﭭ ﭮ ﭯإِنَّ نَاشِئَةَ اللَّيْلِ هِيَ أَشَدُّ وَطْءًا وَأَقْوَمُ قِيلًا ﭰﭱ ﭲ ﭳ ﭴ)  [المزمل/6].

ความว่า “แท้จริงการตื่นขึ้นในเวลากลางคืนนั้นเป็นเป็นที่ประทับใจและการอ่านที่ชัดเจนยิ่ง” (อัล-มุซซัมมิล : 6)

2- และมีรายงานจากท่านอัมฺรุ อิบนุ อับสะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า

«إنَّ أَقْرَبَ مَا يَكُونُ الرَّبُّ عَزَّ وَجَلَّ مِنَ العَبْدِ جَوْفَ اللَّيْلِ الآخِرِ، فَإنْ اسْتَطَعْتَ أَنْ تَـكُونَ مِـمَّنْ يَذْكُرُ الله عَزَّ وَجَلَّ فِي تِلْكَ السَّاعَةِفَكُنْ، فَإنَّ الصَّلاةَ مَـحْضُورَةٌ مَشْهُودَةٌ إلَى طُلُوعِ الشَّمْسِ..»

ความว่า “แท้จริงช่วงที่อัลลอฮฺจะอยู่ใกล้กับบ่าวของพระองค์มากที่สุดคือช่วงท้ายของกลางคืน ฉะนั้นหากท่านทำจะทำตัวเป็นคนที่ซิกฺรุระลึกถึงอัลลอฮฺในช่วงดังกล่าวได้ก็จงทำ เพราะการละหมาดในช่วงนี้มะลาอิกะฮฺจะคอยเป็นสักขีพยานตลอดจนกระทั่งเช้า” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์3579 และอัน-นะสาอีย์ 572 ซึ่งสำนวนนี้เป็นสำนวนของท่าน)

3- และมีคนถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าการละหมาดใดที่ประเสริฐที่รองลงมาจากละหมาดห้าเวลา? ท่านตอบว่า

«أَفْضَلُ الصَّلاةِ بَـعْدَ الصَّلاةِ المَكْتُوبَةِ، الصَّلاةُ فِي جَوْفِ اللَّيْلِ»

ความว่า “การละหมาดที่ประเสริฐที่สุดรองลงมาจากละหมาดห้าเวลาคือการละหมาดในช่วงท้ายของกลางคืน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข1163)

ช่วงเวลากลางคืนที่ดุอาอ์จะถูกตอบรับ

1- มีรายงานจากท่านญาบิรฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า

«إنَّ فِي اللَّيْلِ لَسَاعَةً لا يُوَافِقُهَا رَجُلٌ مُسْلِـمٌ يَسْأَلُ الله خَيْراً مِنْ أَمْرِ الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ، إلَّا أَعْطَاهُ إيَّاهُ، وَذَلِكَ كُلَّ لَيْلَةٍ»

ความว่า “แท้จริงในเวลากลางคืนนั้นมีช่วงหนึ่งที่ไม่มีมุสลิมคนไหนที่ขอดุอาต่ออัลลอฮฺให้เขาได้สิ่งหนึ่งจากประการทางโลกหรืออาคิเราะฮฺซึ่งตรงกับช่วงดังกล่าวพอดี นอกจากอัลลอฮฺจะให้สิ่งที่เขาขอแน่นอน และช่วงที่ว่านี้จะมีอยู่ทุกคืน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 757)

2- และมีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«يَنْزِلُ رَبُّنَا تَـبَارَكَ وَتَعَالَى كُلَّ لَيْلَةٍ إلَى سَمَاءِ الدُّنْيَا حِيْنَ يَبْقَى ثُلُثُ اللَّيْلِ الآخِرُ يَـقُولُ: مَنْ يَدْعُونِي فَأَسْتَـجِيبَ لَـهُ؟ مَنْ يَسْأَلُنِيفَأُعْطِيَـهُ؟، مَنْ يَسْتَغْفِرُنِي فَأَغْفِرَ لَـهُ؟»

ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะลงมาสู่ฟ้าชั้นที่หนึ่งในทุกๆคืนในช่วงหนึ่งในสามสุดท้ายของคืน แล้วพระองค์จะกล่าวว่า มีผู้ใดวิงวอนขออะไรจากข้าไหม แล้วข้าตอบรับคำขอนั้น มีผู้ใดขออะไรจากข้าไหม แล้วข้าจะให้เขาในสิ่งที่เขาขอ มีผู้ใดที่ขออภัยโทษต่อข้าไหม แล้วข้าจะอภัยให้แก่เขา” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1145 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 758)

มีสุนัตให้มุสลิมนอนในสภาพที่สะอาดจากหะดัษและนอนแต่เนิ่นๆ หลังจากละหมาดอิชาอ์ เพื่อจะได้ตื่นละหมาดกลางคืนอย่างกระฉับกระเฉง

ท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«يَـعْقِدُ الشَّيْطَانُ عَلَى قَافِيَةِ رَأْسِ أَحَدِكُمْ إذَا هُوَ نَامَ ثَلاثَ عُقَدٍ، يَضْرِبُ على مكان كُلِّ عُقْدَةٍ: عَلَيْكَ لَيْلٌ طَوِيلٌ فَارْقُدْ. فَإنِ اسْتَيْقَظَفَذَكَرَ الله انْحَلَّتْ عُقْدَةٌ، فَإنْ تَوَضَّأَ انْحَلَّتْ عُقْدَةٌ، فَإنْ صَلَّى انْحَلَّتْ عُقْدَةٌ، فَأَصْبَـحَ نَشِيْطاً طَيِّبَ النَّفْسِ، وَإلَّا أَصْبَـحَ خَبِيْثَ النَّفْسِكَسْلانَ»

ความว่า “ชัยฏอนจะสะกดจุดที่ต้นคอคนหนึ่งคนใดเมื่อนอนหลับสามจุดด้วยกัน แต่ละจุดจะมีการย้ำคำกล่าวว่า ท่านยังมีเวลาหลับอีกยาวนาน ฉะนั้นจงหลับต่อไป หากเขาตื่นในตอนนั้นแล้วระลึกถึงอัลลอฮฺจุดหนึ่งก็จะถูกคลายไป และหากเขาไปอาบน้ำละหมาดอีกจุดหนึ่งก็จะถูกคลายไปและเมื่อเขาไปละหมาดอีกจุดสุดท้ายก็จะถูกคลายไป ในที่สุดเขาก็จะมีความกระฉับกระเฉง รู้สึกสบายกาย มิฉะนั้นแล้วเขาจะรู้สึกไม่ดี ขี้เกียจ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1142 สำนวนนี้เป็นท่าน และมุสลิม เลขที่: 776)

ความเข้าใจเกี่ยวกับกิยามุลลัยลฺ

มุสลิมควรที่จะขยันละหมาดกิยามุลลัยลฺให้มากเป็นพิเศษอย่าละเลยมัน เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ละหมาดกิยามุลลัยลฺจนกระทั่งส้นเท้าทั้งสองของท่านแตก แล้วท่านหญิงอาอิชะฮฺก็ถามท่านว่า ทำไมท่านต้องทำถึงขนาดนี้ ทั้งที่อัลลอฮฺได้อภัยโทษทุกอย่างแก่ท่านแล้วทั้งบาปที่ผ่านมาและบาปที่ยังมาไม่ถึง ท่านเลยตอบว่า

«أَفَلا أُحِبُّ أَنْ أَكُونَ عَبْداً شَكُوراً»

ความว่า “ฉันอยากเป็นบ่าวที่รู้จักชุกูรฺ(ขอบคุณ)ต่ออัลลอฮฺมากๆ ไม่ได้หรือ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 4837 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 2820)

จำนวนร็อกอะฮฺในการละมาดตะฮัจญุด

สิบเอ็ดร็อกอะฮฺพร้อมวิตรฺ หรือสิบสามร็อกอะฮฺพร้อมวิตรฺ

ช่วงเวลาในการละมาดตะฮัจญุด

เวลาที่ประเสริฐที่สุดคือหนึ่งในสามช่วงแรกในส่วนที่สองของกลางคืน ทั้งนี้ให้แบ่งกลางคืนออกเป็นสองส่วนแล้วลุกขึ้นละหมาดช่วงหนึ่งในสามช่วงแรกในส่วนที่สองของกลางคืน แล้วนอนในช่วงท้าย
มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมฺริน อิบนุ อัลอาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«أَحَبُّ الصَّلاةِ إلَى الله صَلاةُ دَاوُدَ عَلَيْـهِ السَّلام، وَأَحَبُّ الصِّيَامِ إلَى الله صِيَامُ دَاوُدَ، وَكَانَ يَنَامُ نِصْفَ اللَّيْلِ، وَيَـقُومُ ثُلُثَهُ، وَيَنَامُسُدُسَهُ، وَيَصُومُ يَوماً، وَيُفْطِرُ يَوماً»

ความว่า “การละหมาดที่อัลลอฮฺโปรดมากที่สุดคือการละหมาของดดาวุด อะลัยฮิสลาม และการถือศีลอดที่อัลลอฮฺโปรดมากที่สุดก็คือการถือศีลอดของดาวุดอาลัยฮิสลามเช่นกัน ซึ่งท่านจะนอนหนึ่งในสองส่วนแรกของกลางคืน แล้วลุกขึ้นมาละหมาดหนึ่งในสามช่วงแรกของส่วนที่สองของกลางคืน แล้วนอนอีกครั้งในหนึ่งในหกช่วงท้ายของของส่วนที่สองของกลางคืน และท่านจะถือศีลอดวันหนึ่ง แล้วหยุดวันหนึ่งตลอด” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1131 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 1159)

ลักษณะการละหมาดตะฮัจญุด

1- สุนัตให้ตั้งเจตนาก่อนนอนว่าจะลุกขึ้นละหมาดกิยามุลลัยลฺ ซึ่งถ้าหากเขาหลับโดยไม่ตื่นเขาก็จะได้ผลบุญในสิ่งที่ได้เจตนาไว้ ถือว่าการหลับสนิทของเขาเป็นเศาะดะเกาะฮฺจากอัลลอฮฺที่ให้แก่เขา และหากเขาตื่นขึ้นมาให้ขจัดอาการง่วงออกไปโดยเอามือลูบหน้าแล้วอ่านสิบอายะฮฺจากส่วนท้ายของสูเราะฮฺอาละอิมรอน ตั้งแต่อายะฮฺที่ว่า

(ﮉ إِنَّ فِي خَلْقِ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ وَاخْتِلاَفِ اللَّيْلِ وَالنَّهَارِ لآيَاتٍ لِّأُوْلِي الألْبَابِﮊ ﮋ ﮌ…)

แล้วให้เขาแปรงฟัน แล้วให้เขาอาบน้ำละหมาด หลังจากนั้นให้เขาเริ่มละหมาดตะฮัจญุด ด้วยสองร็อกอะฮฺสั้นๆ ทั้งนี้เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«إذَا قَامَ أَحَدُكُمْ مِنَ اللَّيْلِ فَلْيَفْتَتِـح صَلاتَـهُ بِرَكْعَتَينِ خَفِيْفَتَيْنِ»

ความว่า “เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านได้ลุกขึ้นละหมาดในเวลากลางคืน ให้เขาเริ่มต้นเป็นปฐมละหมาดก่อนสองร็อกอะฮฺสั้นๆ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 768)

2- หลังจากนั้นให้ละหมาดทีละสองร็อกอะฮฺ โดยให้สลามในทุกๆ สองร็อกอะฮฺ ทั้งนี้เพราะมีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า

إن رَجُلاً قال: يا رَسولَ ا٬لله، كيف صلاة الليل؟ قال: «مَثْنَى مَثْنَى، فَإذَا خِفْتَ الصُّبْـحَ فَأَوْتِرْ بِوَاحِدَةٍ»

ความว่า “มีชายคนหนึ่งได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่าโอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม การละหมาดกลางคืนนั้นละหมาดอย่างไร? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ตอบว่า ละหมาดครั้งละสองร็อกอะฮฺ เมื่อกลัวว่าจะเข้าศุบหฺแล้วให้ละหมาดวิตรฺหนึ่งร็อกอะฮฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1137 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 749)

3- บางครั้งอาจละหมาดตะฮัจญุดสี่ร็อกอะฮฺรวดด้วยสลามเดียวก็ได้

4- และมีสุนัตให้ผู้ละหมาดรู้จำนวนร็อกอะฮฺที่ละหมาดประจำด้วย หากนอนไม่ตื่น ให้ชดด้วยจำนวนคู่ เนื่องจากมีรายงานว่า

سُئلت عائشة رضي الله عنها عن صَلاة رسولِ الله٬ صلى الله عليه وسلم بالليل فقالت: سَبْعٌ، وَتِسْعٌ، وَإحْدَى عَشْرَةَ سِوَى رَكْعَتَيالفَجْرِ

ความว่า “มีคนถามท่านหญิงอาอิชะฮฺถึงการละหมาดกลางคืนของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านหญิงตอบว่า เจ็ด เก้า สิบเอ็ดร็อกอะฮฺนอกเหนือจากสองร็อกอะฮฺสุนัตก่อนศุบฺหิ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1139)

5- และสุนัตให้ละหมาดตะฮัจญุดที่บ้าน ปลุกให้สมาชิกในลุกขึ้นมาละหมาดด้วยและให้นำละหมาดพวกเขาเป็นบางครั้ง และสุนัตสุญูดให้นานจนเท่ากับอ่านอัลกุรอานได้ห้าสิบอายะฮฺ ถ้าหากง่วงก็ให้งีบหลับสักพัก และมีสุนัตให้ยืนกิยามให้นานและอ่านให้ยาว โดยให้อ่านอัลกุรอานญุซอ์หนึ่งหรือมากกว่า บางครั้งให้อ่านด้วยเสียงดังและบางครั้งให้อ่านด้วยเสียงค่อย เมื่ออ่านถึงอายะฮฺที่เกี่ยวกับความเมตตาก็ให้ขอดุอาอ์ให้ได้รับมัน เมื่ออ่านถึงอายะฮฺเกี่ยวกับการลงโทษให้ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากมัน และเมื่ออ่านถึงอายะฮฺที่สรรเสริญความบริสุทธิ์ของอัลลอฮฺให้กล่าวตัสบีหฺ

6- หลังจากนั้นให้จบการละหมาดตะฮัจญุดด้วยละหมาดวิตรฺ เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«اجْعَلُوا آخِرَ صَلاتِكُمْ بِاللَّيْلِ وِتْراً»

ความว่า “ท่านจงจบท้ายละหมาดกลางคืนของท่านด้วยวิตรฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 998 และมุสลิม เลขที่: 75

การละหมาดตะฮัจญุด

http://pattani.nfe.go.th/ksnyaring/?name=knowledge&file=readknowledge&id=64