โอเคมุสลิม

มุสลิมยุโรปผิดหวัง! ศาลสนับสนุนต้องถอดฮิญาบทำงาน

A protester with a reflection of a Palestinian flag in her sunglasses during the rally. The Al Quds Day rally is an event which is supposed to highlight the plight of the Palestinian people and raise awareness of Islamic persecution around the world. Al-Quds Day, an annual day of protest decreed in 1979 by the late Iranian ruler Ayatollah Khomeini, is celebrated to express support for the Palestinian people and their resistance against Israeli occupation. A counter demonstration by Israel supporters also took place. (Photo by Dinendra Haria / SOPA Images/Sipa USA)

สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: มุสลิมยุโรปผิดหวัง! ศาลสนับสนุนต้องถอดฮิญาบทำงาน

จากกรณีที่ศาลสูงสุดของสหภาพยุโรป ออกคำตัดสินว่า กิจการต่าง ๆ สามารถกำหนดให้พนักงานที่คลุมฮิญาบถอดฮิญาบออก เพื่อรักษา “ภาพลักษณ์ที่เป็นกลางทางศาสนา” สำหรับลูกค้า และหากพนักงานไม่ทำตามก็อาจถูกไล่ออกจากงานได้ ซึ่งทำให้เกิดความกังวลต่อสถานการณ์อิสลามโมโฟเบีย หรือ ความเกลียดกลัวอิสลามโดยไม่มีเหตุผล ในยุโรป

คำพิพากษาดังกล่าวสรุปว่า ศาลใน 27 รัฐที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป จะมีอำนาจสนับสนุนการตัดสินใจไล่พนักงานหญิงที่คลุมฮิญาบออก หากพวกเธอปฏิเสธที่จะถอดฮิญาบ หรือต้องเลือกเอาระหว่างการมีงานทำกับการต้องถอดฮิญาบ

สุลัยมาน วิลม์ส์ (Suliaman Wilms) สมาชิกเครือข่ายมุสลิมแห่งสหภาพยุโรป กล่าวว่า คำตัดสินนี้ไม่เพียงแต่จะกระทบต่อสตรีมุสลิมที่อยู่ในวัยทำงานเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงกระแส “การจำกัดการแสดงออกทางศาสนาและศรัทธา” ซึ่งกำลังดำเนินอยู่

ในแถลงการณ์ที่ตีพิมพ์ในสื่อรอยเตอร์ มัรยัม ฮะมาดูน จากสมาคมส่งเสริมความยุติธรรม The Open Society Justice Initiative ได้เตือนว่า การตัดสินใจออกคำตัดสินนี้ แสดงถึงการกีดกันผู้หญิงมุสลิมและผู้หญิงจากชนกลุ่มน้อยทางศาสนาจำนวนมาก ออกจากตลาดงานต่าง ๆ ในยุโรป

คดีความที่ศาลออกคำตัดสินนี้มีอยู่ 2 คดี เกิดขึ้นในประเทศเยอรมัน โดยสตรีมุสลิมถูกยกเลิกการจ้างงานเนื่องจากเธอปฏิเสธที่จะถอดฮิญาบในการทำงาน คดีหนึ่งคู่ความเป็นพนักงานแคชเชียร์ในซุปเปอร์มาร์เก็ต และอีกคดีหนึ่งคู่ความเป็นพนักงานผู้ช่วย ที่ทำงานช่วยเหลือเด็กออทิสติก

ทั้งนี้ หญิงทั้ง 2 ไม่ได้คลุมศีรษะขณะที่พวกเธอถูกจ้างงาน และศาลออกคำตัดสินว่า พวกเธอไม่ได้ถูกเลือกปฏิบัติ เนื่องจากนายจ้างก็ได้ขอให้พนักงานคนอื่น ๆ ถอดสัญลักษณ์ทางศาสนา เช่น ไม้กางเขน และอื่น ๆ ออกเช่นกัน

เห็นได้ชัดว่า คำตัดสินของศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ขัดแย้งอย่างชัดเจนกับศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป ซึ่งเป็นหน่วยงานนอกสหภาพยุโรป ซึ่งเคยออกคำตัดสินในปี 2013 ว่า การสวมสัญลักษณ์ทางศาสนาในที่ทำงานเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สามารถทำได้

ที่มา: www.unilad.co.uk

http://news.muslimthaipost.com/news/35483

Exit mobile version